โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2567 12:59:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกพระพุทธไสยาสน์ภูเวียง |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ขก. 25 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 14 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
ประติมากรรมสลักบนหน้าผา เป็นองค์พระพุทธรูปไสยาสน์ |
ขนาดวัตถุ |
ยาว 3.75 เมตร สูง 3.40 เมตร หนา 20 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 25” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ยอดเขาภูเวียงด้านทิศใต้ บ้านโนนสะอาด ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ยอดเขาภูเวียงด้านทิศใต้ บ้านโนนสะอาด ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น (ข้อมูลวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสารศิลปากร ปีที่ 44 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2544) : 56-61. |
ประวัติ |
พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง เป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ที่แกะสลักจากแท่งศิลาที่หน้าผาสูงบนยอดเขาภูเวียงด้านทิศใต้ จึงเรียกตามชื่อของภูเขาว่า พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง แต่องค์พระพุทธรูปไสยาสน์นั้น ประดิษฐานอยู่บนยอดเขา ส่วนที่เป็นบ้านโนนสะอาด ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ ไม่ได้อยู่ในเขตอำเภอภูเวียง หนังสือโบราณสถานอีสานบน ของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น หน้าที่ 61 บอกว่า “โบราณสถานแห่งนี้ เป็นประติมากรรมสลักบนหน้าผา เป็นองค์พระพุทธรูปไสยาสน์ สูงนูนจากพื้นดิน (บนยอดเขา) 20 เซนติเมตร องค์พระมีความยาว 3.75 เมตร เฉพาะพระเกศถึงพระหนุ ยาว 73 เซนติเมตร ตำแหน่งที่ตั้งอยู่บนยอดเขาภูเวียงด้านทิศใต้ สูง (ชัน) จากพื้นเบื้องล่าง 3.40 เมตร องค์พระนอนตะแคงข้างขวาตามแบบสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนพระกรและพระหัตถ์ขวา หันไปสู่ทิศเหนือ ครองจีวรห่มเฉียง มีขอบสบง (หรือรัดประคด) ทับซ้อนอยู่ ปลายสบงด้านล่างบานออก ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระเนตรหลับ พระกรรณยาว สลักให้ปลายพระกรรณอ่อนแนบติดกับพระปรางบริเวณเหนือพระเศียร ซึ่งห่างประมาณ 20 เซนติเมตร มีอักษรจารึก 2 บรรทัด” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เนื้อความในจารึกบอกให้ทราบว่า ชาวเมืองได้มาที่นี้แล้ว ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มานมัสการองค์พระพุทธรูปเขียนบอกให้ทราบว่า พวกเขาซึ่งเป็นชาวเมืองหรือชาวเมืองตะวันออกได้มาที่นี่แล้ว หรืออีกลักษณะหนึ่ง ชาวเมือง หรือชาวเมืองตะวันออก ได้มาแกะสลักศิลาเป็นองค์พระพุทธรูปไสยาสน์ ไว้บนภูเขานี้ แล้วเขียนจารึกบอกให้ทราบว่า ชาวเมืองตะวันออกได้มาที่นี่แล้ว |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566 |