จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน 1

จารึก

จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:11:49 )

ชื่อจารึก

จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

กพช. เลขที่ 712/2522, มค. 2

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

พระพิมพ์

ขนาดวัตถุ

กว้าง 11.20 ซม. สูง 13.80 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “มค. 2”
2) กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดเป็น “กพช. เลขที่ 712/2522”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 กำหนดเป็น “จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน 1”

ปีที่พบจารึก

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2522

สถานที่พบ

ที่ดินของนายทองดี ประวะภูตา หมู่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้พบ

นายสถาพร ขวัญยืน หัวหน้าโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กองโบราณคดี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2524) : 51-55.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 77-81.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 105-107.

ประวัติ

บันทึกรายงานการขุดแต่งโบราณสถานที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม โดย สถาพร ขวัญยืน เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้กล่าวรายงานว่า พระพิมพ์ดินเผาที่ปรากฏรูปอักษรด้านหลัง (ตามสำเนาจารึก เลขที่ 712/2522 และ 1106/2522) ได้ขุดพบที่บริเวณเนินดินของนายทองดี ประวะภูตา ราษฎรหมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมื่อระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2522 พระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบในคราวนั้น ส่วนมากอยู่ในสภาพที่แตกหักและชำรุด ในจำนวนพระพิมพ์ดินเผาดังกล่าว มีอยู่หลายองค์ด้วยกันที่พบว่าบนด้านหลังมีรูปอักษร และรูปอักษรที่ปรากฏนั้นลักษณะการจารึกมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบจารึกตัวอักษร และแบบอักษรตัวเขียน

เนื้อหาโดยสังเขป

ขุนนาง หรือ พระยาผู้หนึ่ง ที่จารึกหลักนี้เรียกว่า กอมระตาญง์ ร่วมกับสหายที่เป็นสามัญชน ได้ทำบุญ โดยสร้างพระพิมพ์ดินเผาองค์นี้ขึ้นมา

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ, “จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 : อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ 12-21 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 77-81.
2) ประสาร บุญประคอง, จำปา เยื้องเจริญ และเทิม มีเต็ม, “จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน เลขทะเบียน 712/2522 และ 1106/2522,” ศิลปากร 25, 1 (มีนาคม 2524) : 51-55.
3) เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ, “จารึกหลังพระพิมพ์ดินเผานาดูน 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 : อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ อักษรมอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ 12-21 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2559), 105-107.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2524)