จารึกหินขอน 2

จารึก

จารึกหินขอน 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 13:43:26 )

ชื่อจารึก

จารึกหินขอน 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นม.31, K.389, de Hĭn K‘ôn (K. 389), หลักที่ 122 จารึก 2 หลักบนเสาที่หินขอน อ. ปักธงชัย จ. นครราชสีมา

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 3 ด้าน มี 46 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 13 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

เสาสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 32 ซม. สูง 80 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 31”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VI กำหนดเป็น “Piliers de Hĭn K‘ôn (K. 389)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 122 จารึก 2 หลักบนเสาที่หินขอน อ. ปักธงชัย จ. นครราชสีมา”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกหินขอน 2”

ปีที่พบจารึก

มีนาคม พ.ศ. 2480

สถานที่พบ

บ้านหินขอน (ไม่ทราบว่าหมายถึงที่ไหนในปัจุบัน) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

ยอร์ช เซเดส์

ปัจจุบันอยู่ที่

บ้านหินขอน (ไม่ทราบว่าหมายถึงที่ไหนในปัจจุบัน) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ไม่ปรากฏ (วันที่ 11 มีนาคม 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 73-79.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 241-252.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 263-266.

ประวัติ

ศิลาจารึกหินขอนเป็นจารึกบนเสาสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ในบริเวณโบราณสถานบ้านหินขอน (ไม่ทราบว่าหมายถึงที่ไหนในปัจจุบัน) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โบราณสถานแห่งนี้น่าจะเป็นพุทธสถาน มีเสาศิลาตั้งคู่กันเป็นใบเสมา บางเสามีภาพจำหลักรูปเจดีย์ บางเสามีจารึก โดยเฉพาะจารึกที่เสานั้น มีอยู่ 2 หลักที่อ่านและแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดย ศ. ยอร์ช เซเดส์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ตีพิมพ์ในหนังสือชุด Inscriptions du Cambodge vol. VI โดยกำหนดจารึกทั้ง 2 หลักเป็น “Piliers de Hĭn K‘ôn (K. 388 และ K. 389)” ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ทูลเชิญ ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แปลเอกสารชิ้นดังกล่าวเป็นภาษาไทย และนำไปตีพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 4 ต่อมา ปี พ.ศ. 2529 หอสมุดแห่งชาติ ได้นำมาตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในหนังสือชุด จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 โดย ใช้ชื่อว่า “จารึกหินขอน 1 (นม. 28)” และ “จารึกหินขอน 2 (นม. 31)”

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการสร้างสิ่งของต่างๆ ที่ท่านราชภิกษุอุปาธยายะถวายไว้กับวัด เพื่อให้ผลบุญนั้นนำไปสู่พุทธภูมิ จารึกนี้ มีความเกี่ยวข้องกับจารึกหินขอน 1 (นม. 28)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) G. Cœdès, “Piliers de Hĭn K‘ôn (K. 388, 389,” in Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 73-79.
2) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกหินขอน 2,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 263-266.
3) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 121-122 จารึก 2 หลักบนเสาที่หินขอน อ. ปักธงชัย จ. นครราชสีมา,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, จาก Piliers de Hĭn K‘ôn (K. 388, 389), ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 241-252.