อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 15, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14-15, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดโพธิ์ชัยเสมาราม กาฬสินธุ์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างใบเสมา, บุคคล-เนียะมุ่น, บุคคล-สมิงพระจักร,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 15:54:21 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดโพธิ์ชัยเสมาราม |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
กส. 7, KS. 7, M. 21 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 14-15 |
ภาษา |
มอญโบราณ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 53 ซม. สูง 73 ซม. หนา 6 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กส. 7” |
ปีที่พบจารึก |
25 มีนาคม พ.ศ. 2527 |
สถานที่พบ |
วัดโพธิ์ชัยเสมาราม ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่สายงานจารึกและวิจัยเอกสารโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณกองหอสมุดแห่งชาติ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 100-103. |
ประวัติ |
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2527 สายงานจารึกและวิจัยเอกสารโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศิลปากร ให้ส่งนายบุญนาค สะแกนอก เดินทางไปสำรวจเอกสารโบราณ และจารึกในเขตท้องที่ต่างๆ ที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าหน้าที่ได้สำรวจพบศิลาจารึก 1 หลัก ที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2527 และได้ขึ้นทะเบียนเป็น “กส. 7” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เป็นคำจารึกสั้นเพื่อบอกชื่อผู้สร้างพระพิมพ์องค์นี้ คือ เนียะมุ่น และ สมิงพระจักร และขอให้บุญที่ได้อุปถัมภ์สร้างใบเสมานี้ ส่งผลต่อไปในภายหน้า |
ผู้สร้าง |
เนียะมุ่น และ สมิงพระจักร |
การกำหนดอายุ |
นายเทิม มีเต็ม ได้อธิบายว่า รูปแบบของตัวอักษรบางตัว เหมือนกับจารึกเสาแปดเหลี่ยม (ลพบุรี) (ลบ. 1) ซึ่งระบุปีไว้ราว พ.ศ. 1314 และ จารึกพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสูงยาง 1 และ 2 ดังนั้นจึงกำหนดได้ว่าเป็นรูปแบบอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565 |