จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ 2

จารึก

จารึกที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 08:52:48 )

ชื่อจารึก

จารึกที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 35 จารึกบนหินอ่อน, หลักที่ 228 จารึกบนหินอ่อน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์, โรมัน

ศักราช

พุทธศักราช 2424

ภาษา

ไทย, อังกฤษ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 31 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 15 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 16 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยม ด้านบนมีลักษณะเป็นวงโค้ง

ขนาดวัตถุ

ด้านที่ 1 กว้าง 78 ซม. สูง 122 ซม. หนา 8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 35 จารึกบนหินอ่อน”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 228 จารึกบนหินอ่อน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ในพระราชวังบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ในพระราชวังบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 100-101.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ ตรี อมาตยกุล และ ประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 228 จารึกบนหินอ่อน” อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างจากหินอ่อน ฐานเป็นแท่นสี่เหลี่ยม รอบฐานมีโซ่เหล็กล้อมรอบ ภายในบรรจุพระสรีรังคารของสมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่พระองค์มีต่อพระอัครมเหสีซึ่งสวรรคตจากอุบัติเหตุเรือล่ม ขณะเสด็จพระราชดำเนินยังพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2423 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเชิงอรรถอธิบาย) มีจารึก 2 ด้าน ด้านที่ 1 เป็นอักษรไทย ภาษาไทย ส่วนด้านที่ 2 เป็นภาษาอังกฤษ จารึกด้วยอักษรโรมัน นอกจากอนุสาวรีย์แห่งนี้แล้ว ในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ ก็มีอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ พระราชธิดาซึ่งสวรรคตในคราวเดียวกัน (ดูรายละเอียดได้ใน “จารึกอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรีตน์ 1”)

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกแห่งความรัก แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2424

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกว่า “จุลศักราช 1243” ตรงกับ พ.ศ. 2424 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ตรี อมาตยกุล และ ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 228 จารึกบนหินอ่อน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 100-101.
2) สมบัติ จำปาเงิน, รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ : บริษัท 2020 เวิล์ด มีเดีย จำกัด, 2542).
3) ส. พลายน้อย, พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ : รวมสาสน์, 2541).
4) ส. พลายน้อย, วังเจ้านาย (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2539).
5) นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ, พระราชวังโบราณ (กรุงเทพฯ : บริษัท ศูนย์เสริมปัญญาไทย จำกัด, 2541).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26-28 มิถุนายน 2550