จารึกวัดบ้านมะค่า

จารึก

จารึกวัดบ้านมะค่า

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 19:12:15 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดบ้านมะค่า

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

กส. 3

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายเนื้อละเอียด สีแดง

ลักษณะวัตถุ

สี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 16.5 ซม. สูง 14.5 ซม. หนา 11 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กส. 3”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกวัดบ้านมะค่า”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดโคกกัมภ์ (ข้อมูลเดิมว่า วัดบ้านมะค่า) บ้านโนนมะค่า ตำบลกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 273-275.

ประวัติ

ศิลาจารึกวัดบ้านมะค่านี้ เป็นศิลาจารึกขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าคงเป็นส่วนของฐานพระพุทธรูป ซึ่งแตกออก และบังเอิญรูปอักษรส่วนที่เป็นชื่อของศิลาชำรุดอ่านไม่ได้ จึงไม่อาจทราบนามของรูปศิลานั้น

เนื้อหาโดยสังเขป

มีข้อความว่า “. . . เป็นที่เคารพตามสมมติเหมือนรูปทั้งปวง”

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ซึ่ง อ. ชะเอม แก้วคล้ายได้อธิบายไว้ว่า ลักษณะการจารึกรูปอักษร เหมือนกันกับศิลาจารึกฐานพระพุทธรูป (กส. 5) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์เช่นกัน ฉะนั้นเข้าใจว่า ศิลาจารึกทั้งสองนี้ อยู่ในยุคเดียวกัน และผู้สร้างจารึกอาจจะเป็นคนเดียวกันก็ได้ เพราะลักษณะอักษรเหมือนกันทุกประการ นอกจากนี้ อักษร “ศ”, “ล” และ “มา” ก็เหมือนกันกับจารึก Ang Chumnik ของพระเจ้าชัยวรมัน ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกวัดบ้านมะค่า,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 273-275.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)