จารึกบนฐานประติมากรรมรูปสุกร

จารึก

จารึกบนฐานประติมากรรมรูปสุกร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2566 02:19:17 )

ชื่อจารึก

จารึกบนฐานประติมากรรมรูปสุกร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 279 ศิลาจารึกบนฐานสุกรยืน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2456

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน สีเทา

ลักษณะวัตถุ

ฐานประติมากรรม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 80 ซม. สูง 58 ซม. หนา 5 มม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 279 ศิลาจารึกบนฐานสุกรยืน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

หน้าวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หน้าวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 5 มิถุนายน 2564)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 214.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 279 ศิลาจารึกบนฐานสุกรยืน”

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถวายพระพรแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถให้ทรงมีพระชนมายุยืนนาน ตอนท้ายกล่าวถึงพระนามและนามผู้สร้างซึ่งได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์, พระยาพิพัฒโกษา (เศเลสติโน ซาเวียร์) และ พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) โดยระบุปีที่สร้างคือ พ.ศ. 2456

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกว่า “สร้างไว้เมื่อพุทธศักราช 2456” ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2453-2468)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : 
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 279 คำอ่านศิลาจารึกบนฐานสุกรยืน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 214.
2) จินตนา กระบวนแสง, “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ. 2406-2490),” ใน ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2532), 50-56.
3) อารี สุทธิเสวันต์, “นายพลเรือตรี พระยาราชสงคราม,” ใน ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2532), 76-80.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)