จารึกวัดศรีสวาย

จารึก

จารึกวัดศรีสวาย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2566 14:00:36 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดศรีสวาย

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2450

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 22 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน สีเขียว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 67 ซม. สูง 116 ซม. หนา 12 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 241 ศิลาจารึกวัดศรีสวาย“

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดศรีสวาย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีสวาย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 125 - 126.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 241 ศิลาจารึก วัดศรีสวาย”

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2450 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงสันนิษฐานว่าวัดศรีสวายเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากพบหลักไม้ ซึ่งน่าจะเป็นที่นั่งของพระยายืนชิงช้า และประติมากรรมหินรูปพระสยมภู (อิศวร/ศิวะ) รวมถึงเศียรเทวรูปอีกด้วย

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกว่า "พระพุทธสาสนกาลได้ 2450 พรรษา" คือ พ.ศ. 2450

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก:
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 241 ศิลาจารึก วัดศรีสวาย”, ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 125 - 126.
2) “พระราชพิธีตรียัมปวาย,” ใน อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระราชครูวามเทพมุนี (กรุงเทพฯ : เซ็นทรัลเอกซ์เพรสศึกษาการพิมพ์, 2522?), 24 – 44.
3) อรชุน กุรุนนท์, เรียบเรียง, พระศิวะ : เรื่องราวของมหาเทพผู้ครองจักรวาลและมีผู้นับถือบูชามากที่สุด (กรุงเทพฯ : ไพลิ, 2541).
4) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546).
5) อนันต์ ชูโชติ, ธาดา สังข์ทอง และนารีรัตน์ ปรีชาพิชคุปต์, นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร = Guide to Sukhothai, Si Satchanalai and Kamphaeng Phet Historical Parks, พิมพ์ครั้งที่ 2 (สุโขทัย : โรงพิมพ์วิทยา คอมพิวเตอร์ – ออฟเซท, 2546).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)