จารึกบนกรอบหน้าต่างวัดบรมนิวาส ห้องที่ 5

จารึก

จารึกบนกรอบหน้าต่างวัดบรมนิวาส ห้องที่ 5

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2566 14:41:47 )

ชื่อจารึก

จารึกบนกรอบหน้าต่างวัดบรมนิวาส ห้องที่ 5

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 151 อักษรเขียนด้วยหมึกบนกรอบหน้าต่างด้านใน ห้องที่ 5

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

ปูนซีเมนต์ สีขาว อักษรเขียนด้วยหมึก

ลักษณะวัตถุ

กรอบหน้าต่าง

ขนาดวัตถุ

กว้าง 104.5 ซม. สูง 14.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น "หลักที่ 151 อักษรเขียนด้วยหมึกบนกรอบหน้าต่างด้านใน ห้องที่ 5"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พระอุโบสถวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พระอุโบสถ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 24 มิถุนายน 2565)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 44.

ประวัติ

จารึกนี้นายประสาร บุญประคองเป็นผู้อ่านโดยมีการตีพิมพ์ลงในประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ในพ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า "หลักที่ 151 อักษรเขียนด้วยหมึกบนกรอบหน้าต่างด้านใน ห้องที่ 5" วัดบรมนิวาส เดิมชื่อว่า "วัดนอก" บุตรหลานของผู้สร้างวัดน้อมเกล้าฯถวายให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งขณะนั้นยังทรงอยู่ในสมณเพศ เมื่อทรงลาผนวชจึงบูรณะและสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งอาราม โดยเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดป่า) คู่กับวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งเป็นวัดฝ่ายคามวาสี ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังที่แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงระหว่างกรอบหน้าต่าง - กรอบประตู ซึ่งเขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเพณีการทำบุญในเทศกาลต่างๆ ของไทย และภาพจิตรกรรมที่อยู่เหนือกรอบประตู - กรอบหน้าต่างขึ้นไปซึ่งเขียนเป็นปริศนาธรรมอันมีความสอดคล้องกับข้อความในจารึกจำนวน 12 แผ่น คือ จารึกบนกรอบหน้าต่าง 10 แผ่น และ จารึกบนกรอบประตู 2 แผ่น เรื่องราวของภาพเขียนแบบต่อเนื่องกันไป โดยใช้ภาพกลุ่มคนและต้นไม้ในการแบ่งเรื่องราว ภาพปริศนาธรรมดังกล่าวเขียนตามแบบศิลปะตะวันตก ฝีมือของ อาจารย์ขรัวอินโข่ง จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีเรื่องราวและรูปแบบที่คล้ายคลึงกับจิตรกรรมภายในอุโบสถวัดบวรนิเวศอย่างมาก

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวเปรียบเทียบว่า พระพุทธเจ้าทรงเหมือนผู้มีทรัพย์มาก โลกุตรธรรมเหมือนทรัพย์ และพระอริยสงฆ์เปรียบเหมือนผู้คนที่มารับทรัพย์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ในจารึกไม่ปรากฏศักราช แต่อาจสันนิษฐานได้ว่าจารึกนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากรูปแบบอักษรและอักขรวิธีซึ่งเป็นอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบกับอายุของภาพปริศนาธรรมเหนือกรอบประตูและหน้าต่างซึ่งมีเรื่องราวสอดคล้องกับจารึกถูกเขียนขึ้นในรัชกาลดังกล่าว (ดูรายละเอียดในหัวข้อ "ประวัติ")

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, "หลักที่ 147 อักษรเขียนด้วยหมึกบนกรอบหน้าต่างด้านใน ห้องที่ 1," ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 44.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)