จารึกบนแผ่นดินเผาวัดเทพอุรุมภังค์

จารึก

จารึกบนแผ่นดินเผาวัดเทพอุรุมภังค์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 11:31:06 )

ชื่อจารึก

จารึกบนแผ่นดินเผาวัดเทพอุรุมภังค์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นบ. 2 จารึกวัดเทพอุรุมภังค์ (วัดร้าง), จารึกบนแผ่นดินเผา, หลักที่ 135 จารึกบนแผ่นดินเผา

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2341

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 8 บรรทัด

วัตถุจารึก

แผ่นดินเผาเนื้อดิน (เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ)

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ขนาดวัตถุ

กว้างด้านละ 37 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นบ. 2 จารึกวัดเทพอุรุมภังค์ (วัดร้าง)”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2509) กำหนดเป็น “จารึกบนแผ่นดินเผา”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 135 จารึกบนแผ่นดินเผา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเทพอุรุมภังค์ (วัดร้าง) ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2509) : 100-101.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 14.

ประวัติ

ร.อ. อัมพร วิเศษจิตร ร.น. นายแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 อนามัยจังหวัดนนทบุรี พบจารึกนี้ที่วัดเทพอุรุมภังค์ (วัดร้าง) ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จึงมอบให้กรมศิลปากรเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 นายประสาร บุญประคองเป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 135 จารึกบนแผ่นดินเผา” ปัจจุบันอยู่ที่แผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

เนื้อหาโดยสังเขป

เมื่อ พ.ศ. 2341 สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ โปรดให้นำพระตำหนักแพมาสร้างเป็นพระอุโบสถของวัดแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นปัจจัยแก่พระโพธิญาณ

ผู้สร้าง

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกว่า “สุภ่ม่ศ่ดุพรพุทสักก่ราชล่วงแลวได 2341…” (ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ 2341) คือ พ.ศ. 2341 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร. 1) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2325-2352)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านจารึกบนแผ่นดินเผา,” ศิลปากร 10, 3 (กันยายน 2509) : 100-101.
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 135 จารึกบนแผ่นดินเผา,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 14.
3) เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ; นฤมล ธีรวัฒน์, ชำระต้นฉบับ ; นิธิ เอียวศรีวงศ์, บรรณาธิการ, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2539).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)