อายุ-จารึก พ.ศ.2377, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนแผนทองแดง, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ภาษา-จารึกภาษาไทย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์-ดวงชะตาฤกษ์สร้างวัด,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 10:04:05 )
ชื่อจารึก |
จารึกดวงชะตาฤกษ์สร้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 145 จารึกดวงชะตาฤกษ์สร้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช 2377 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
แผ่นทองแดง |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส |
ขนาดวัตถุ |
กว้างด้านละ 20 ซม. หนา 1 มม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 145 จารึกดวงชะตาฤกษ์สร้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑ์วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร หอบูรพาจารย์ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 24 มิถุนายน 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 38. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 145 จารึกดวงชะตาฤกษ์สร้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร” ปัจจุบันอยู่ที่ฐานพระประธานของวัดดังกล่าว วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่รูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นศิลปกรรมในสมัย ร. 4 ลงมา เนื่องจากบุตรหลานของผู้สร้างวัดได้ถวายให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ร. 4 เมื่อครั้งที่ยังทรงอยู่ในสมณเพศขณะที่ ร. 3 ครองราชย์) พระองค์ จึงทรงบูรณะและสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งอาราม เรียกว่า วัดนอก ภายในพระอุโบสถที่มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัว อินโข่งจิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 4 เนื้อหาและรูปแบบของภาพเป็นแบบเดียวกับจิตกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เช่น ภาพฝูงชนไปประชุมดูดอกบัวใหญ่กลางสระ ภาพหมอฝรั่งรักษาโรค และภาพสนามม้า เป็นต้น ส่วนซุ้มประตูของวัดเป็นแบบฝรั่ง ฝีมือช่างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) วัดแห่งนี้เป็นวัดแรกที่ ร. 4 ทรงสร้างและกำหนดให้มีมหาสีมาขึ้น โดยมีพระประสงค์ให้เป็นวัดธรรมยุตนิกายฝ่ายอรัญวาสี ในขณะที่โปรดให้วัดบวรนิเวศวิหารเป็นฝ่ายคามวาสี |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ระบุถึงดวงชะตาฤกษ์ที่สร้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในบรรทัดที่ 2 ของจารึกว่า “สุริยคตินิยม 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 …” ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2367-2393) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517) |