จารึกวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

จารึก

จารึกวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 17:46:13 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 115 ศิลาจารึก วัดมหาธาตุฯ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2228

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 49 ซม. สูง 32 ซม. หนา 8.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 115 ศิลาจารึก วัดมหาธาตุฯ”

ปีที่พบจารึก

8 มีนาคม พ.ศ. 2499

สถานที่พบ

สระทิพย์นิภา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

กุฎีพระรัตนเมธี คณะ 1 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 155-158.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ถูกขุดพบในสระทิพย์นิภา วัดมหาธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2499 ขณะทำการสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีการพิมพ์เผยแพร่ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2513 โดย ฉ่ำ ทองคำวรรณ เป็นผู้อ่านและอธิบายคำ

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการปิดทองพระพุทธรูปซึ่งเสร็จสมบูรณ์ ใน พ.ศ. 2228 ตอนท้ายมีการสาปแช่งให้ผู้ที่จะเอาทรัพย์สินใต้ฐานพระพุทธรูปให้ตกสู่โลกันตนรก อนึ่ง ดวงฤกษ์ที่ปรากฏบนจารึก ตรงกับ จันทรคติกาล วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด ฉศกจุลศักราช 1046 สุริยคติกาล วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2227 เวลา 19 นาฬิกา 38 นาที ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ (อาจารย์ ทองเจือ อ่างแก้ว คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกในบรรทัดที่ 5 ว่า “….พุทธศักราชได้ 2228 ปี….” ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2199-2231)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก:
ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึก วัดมหาธาตุฯ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 155-158.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513)