จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

จารึก

จารึกวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2564 22:04:40

ชื่อจารึก

จารึกวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 115 ศิลาจารึก วัดมหาธาตุฯ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2228

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 14 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2513)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2513)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2513)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศุภมัสดุ” มาจาก ศุภํ + อัสตุ (สันสกฤต) หมายถึง ความดี/ความงามจงมี
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ชาตะ” คือ ชาตา (ชะตา) ต้นฉบับเขียนเป็นอักษรขอม
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คือ วันพุธ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ เดือนสาม (เริ่มนับจากวัน 1 คือ วันอาทิตย์)
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ปีชวด ฉ ศก” ในที่นี้ตรงกับจุลศักราช 1046
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สัปบุรุษ” หมายถึง ผู้ที่มีศรัทธาในพระศาสนา
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ปีจอ” ในที่นี้ตรงกับจุลศักราช 1046
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “สิ่งสรรค์” หมายถึง สิ่งที่สร้างไว้
8-9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “รื้อ” ในบรรทัดที่ 14 ต้นฉบับเขียนอย่างแบบขอมทั้ง 2 แห่ง
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “โลกัน(ต)นรก” เป็นนรกที่ตั้งอยู่ระหว่างโลกทั้งสาม คือ เทวโลก มนุษยโลก และนรก (ยมโลกียนรกหรือยมโลก) (ไม่รวมอยู่ในนรกขุมใหญ่ 8 ขุม) นรกขุมนี้ต่างจากนรกขุมอื่นๆ ซึ่งมีการลงโทษด้วยความร้อน แต่โลกันตนรกรลงโทษด้วยความเย็น เป็นที่อยู่ของคนอกตัญญู ประกอบกรรมที่ร้ายแรง ได้แก่การประทุษร้ายบิดามารดาหรือการทรมานบิดามารดาและครูอาจารย์ ผู้ตกนรกขุมนี้จะไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด