จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 19 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2296, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ, วัตถุ-จารึกบนอิฐ, วัตถุ-จารึกบนอิฐถือปูน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวนสีเขียว, ลักษณะ-จารึกบนผนัง, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดศรีโพธิ์ พระนครศรีอยุธยา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-อุปสมบท, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-พระศรีอาริยเมตไตรย, บุคคล-ท้าวพรหมกันดาล, บุคคล-กรมขุนสุเรนทราพิทักษ์, บุคคล-กรมขุนอนุรักษ์มนตรี,

จารึกวัดใหม่ศรีโพธิ์ 1

จารึก

จารึกวัดใหม่ศรีโพธิ์ 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 19:30:09 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดใหม่ศรีโพธิ์ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนแผ่นปูนขาว อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา (พระเจ้าบรมโกศ), อย. 4

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2296

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 23 บรรทัด

วัตถุจารึก

อิฐถือปูน

ลักษณะวัตถุ

ฝาผนัง

ขนาดวัตถุ

กว้าง 39 ซม. สูง 65.9 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 4 ก”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2512) กำหนดเป็น “จารึกบนแผ่นปูนขาว อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา (พระเจ้าบรมโกศ)”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2451

สถานที่พบ

ผนังด้านนอก พระอุโบสถวัดศรีโพธิ์ (วัดใหม่ศรีโพธิ์) เดิมชื่อวัดพรหมกัลยาราม ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ปัจจุบันอยู่ที่

พระอุโบสถวัดศรีโพธิ์ (วัดใหม่ศรีโพธิ์) ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

วารสารศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2512) : 93-99.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่ที่ฝาผนังด้านนอก หน้าพระอุโบสถวัดพรหมกัลยาราม (วัดใหม่ศรีโพธิ์) ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา คำอ่านจารึกนี้ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2512) ชื่อบทความ “คำอ่านจารึกบนแผ่นปูนขาว อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา (พระเจ้าบรมโกศ)” จารึกนี้อยู่ในสภาพที่ชำรุดมาก เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง จึงใช้สำเนาจารึกที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานแก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อวันที่ 2 กันยายน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) มาอ่านประกอบ

เนื้อหาโดยสังเขป

1) พ.ศ. 2292 ท้าวพรหมกันดาล ทูลขอที่ดินเพิ่มแก่วัด ในปีเดียวกัน กรมขุนสุเรนทราพิทักษ์และกรมขุนอนุรักษ์มนตรีทรงผนวช ณ วัดแห่งนี้ ต่อมาใน พ.ศ. 2296 การสร้างจึงเสร็จสมบูรณ์
2) บอกรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และกล่าวถึงการตั้งชื่อวัดดังกล่าวว่า “วัดพรมกัลยาราม”
3) ตอนท้ายมีการตั้งความปรารถนาให้ได้พบพระศรีอารย์และเข้าสู่นิพพาน

ผู้สร้าง

ท้าวพรหมกันดาล

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏบนจารึกว่า “…พระพุทธศักราช 2296 พระวัสสา…” ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275-2301)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “คำอ่านจารึกบนแผ่นปูนขาว อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา (พระเจ้าบรมโกศ),” ศิลปากร 13, 2 (กรกฎาคม 2512) : 93-99.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2512)