อายุ-จารึก พ.ศ. 2271, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ, วัตถุ-จารึกบนอิฐ, วัตถุ-จารึกบนอิฐถือปูน, ลักษณะ-จารึกบนกำแพง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดป่าโมกข์ อ่างทอง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระอุโบสถ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ชะลอพระพุทธรูป, เรื่อง-การสร้างพระอุโบสถ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงศรีอยุธยา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงศรีอยุธยา-พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ, บุคคล-พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 08:55:10 )
ชื่อจารึก |
จารึกชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
อท. 1 จารึกชลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์, ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย ได้มาจากผนังด้านหน้า ในพระอุโบสถวัดป่าโมกข์ ตำบลป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง, อท. 1 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยอยุธยา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2271 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 27 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
อิฐถือปูน |
ลักษณะวัตถุ |
ฝาผนัง |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 69 ซม. สูง 124 ซม. หนา 5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อท. 1 จารึกชลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ผนังด้านหน้า ในพระอุโบสถวัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ผนังด้านหน้า ในพระอุโบสถวัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสารศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2510) : 92-96 . |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้อยู่ที่ผนังด้านหน้าในพระอุโบสถวัดป่าโมกข์ ตำบลป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อท. 1” ได้รับการพิมพ์เผยแพร่คำอ่านใน แถลงงานประวัติศาสตร์ฯ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2510 และในวารสารศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2510) ชื่อบทความ “ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย ได้มาจากผนังด้านข้างในพระอุโบสถวัดป่าโมกข์อำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง” รวมทั้งประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค 1 ในปีเดียวกัน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงการชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ (วัดตลาด) ให้ห่างจากที่ตั้งเดิม 4 เส้น 4 วา เนื่องจากถูกแม่น้ำเซาะ ในพุทธศักราช 2271 และการรื้อพระวิหารเก่าแล้วสร้างวิหาร, อุโบสถขึ้นใหม่โดยพระเจ้าท้ายสระเสด็จมาสถาปนา และโปรดให้สร้างจารึกนี้ไว้ในพระอุโบสถ อนึ่ง การชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์นั้น นอกจากจะปรากฏในจารึกหลักนี้ ก็ยังมีหลักฐานด้านเอกสาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม ) ซึ่งให้รายละเอียดต่างๆ มากกว่าที่ปรากฏในจารึก เช่น ขั้นตอนและวิธีการชะลอ เป็นต้น |
ผู้สร้าง |
พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากวันเดือนปีที่ปรากฏในบรรทัดแรกของจารึกว่า “ศุภมัสดุ 2271 ศก อชสังวัจฉร วิศาขมาส ศุกลปักษ์ อัฐมีดิถี จันทวาร ….” คือ พุทธศักราช 2271 วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนหก ปีมะแม ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2251-2275) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2510) |