จารึกวัดโพธิ์คลาน

จารึก

จารึกวัดโพธิ์คลาน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 18:14:23 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดโพธิ์คลาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนขอบระฆัง อักษรและภาษาไทย, หลักที่ 114 จารึกบนขอบระฆัง, สพ. 11

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2181

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด (จารึกอยู่รอบขอบระฆัง)

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ระฆัง

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลาง 45 ซม. สูง 82 ซม. เส้นรอบวงระฆัง 141 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สพ. 11”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2510) กำหนดเป็น “จารึกบนขอบระฆัง อักษรและภาษาไทย”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 114 จารึกบนขอบระฆัง”

ปีที่พบจารึก

มกราคม พ.ศ. 2510

สถานที่พบ

วัดโพธิ์คลาน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้พบ

หน่วยศิลปากรที่ 2 จังหวัดสุพรรณบุรี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2510) : 84-85.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 153-154.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่บนขอบระฆังสำริดซึ่งพบที่วัดโพธิ์คลาน ตำบลวิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ปีที่ 11 เล่ม 2 พ.ศ. 2510 ชื่อบทความ "คำอ่านจารึกบนขอบระฆัง อักษรและภาษาไทย" อ่านโดย ประสาร บุญประคอง ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร กล่าวถึงความสำคัญของจารึกนี้ว่าสามารถช่วยยืนยันถึงวันเถลิงศก (วันแรกของปี) จ.ศ. 1001 และยืนยันว่าปีพุทธศักราชเริ่มต้นปีในเดือน 6 แรม 1 ค่ำ (ในสมัยพระเจ้าปราสาททองมีการลบศักราชเพื่อแก้เคล็ดโดยการเปลี่ยนนักษัตรถอยหลังไป 3 ปี จากปีขาล สัมฤทธิศก เป็น ปีกุน สัมฤทธิศก เนื่องจากความเชื่อที่ว่าเมื่อจุลศักราชครบ 1,000 ปี จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น ทำให้เกิดความสับสนเป็นอย่างมากในเรื่องของศักราช)

เนื้อหาโดยสังเขป

พระยารามและออกหมื่นเทพได้ทำการหล่อระฆังขึ้นมอบแด่พระพุทธศาสนาเพื่อให้ตนได้พบพระศรีอารย์ในภายหน้า มีการบอกจำนวนทรัพย์ที่ใช้ และศักราชในตอนท้าย (พ.ศ. 2181)

ผู้สร้าง

พระยารามและออกหมื่นเทพ

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกในบรรทัดที่ 2 ว่า “….ศักราชได้แล้ว 2181 ปี….” (พ.ศ. 2181) ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2172-2199)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านจารึกบนขอบระฆัง อักษรและภาษาไทย,” ศิลปากร 11, 2 (กรกฎาคม 2510) : 84-85.
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 114 จารึกบนขอบระฆัง,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 153-154.
3) ผาสุข อินทราวุธ, พุทธศาสนาและประติมาณวิทยา (เอกสารอัดสำเนา) (กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2530), 83-86.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2510)