จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2298, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวนสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นรก-สวรรค์, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง,

จารึกวัดพระคันธกุฎี

จารึก

จารึกวัดพระคันธกุฎี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 13:30:37 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระคันธกุฎี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 5

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2298

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเทา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 66 ซม. สูง 43.5 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 5”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระคันธกุฎี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

-

ประวัติ

จารึกแผ่นนี้ถูกพบในบริเวณวัดพระคันธกุฎี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กองหอสมุดกองหอสมุดแห่งชาติได้ทำสำเนาไว้ 2 สำเนา และกำหนดเป็น “อย. 5 จารึกวัดพระคันธกุฎี”

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการสร้างวัดพระคันธกุฎีใน พ.ศ. 2298 มีการแผ่ส่วนบุญแด่บุพการีผู้มีพระคุณ รวมทั้งยักษ์ ปีศาจ และเทวดาทั้งหลาย ตอนท้ายสาปแช่งผู้คิดจะฉ้อโกงของวัด โดยขอให้ตกนรกอเวจี และระบุชื่อผู้ที่ถูกกัลปนาให้เป็นผู้ดูแลรักษาวัด (ข้าพระ)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกในบรรทัดแรกว่า “..พระพุทธศักราช 2298 พระวัสสา..” ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2275-2301)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ, อยุธยา (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2546).
2) ดนัย ไชยโยธา, ประวัติศาสตร์ไทย : ยุคอาณาจักรอยุธยา (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2546).
3) อุดม รุ่งเรืองศรี, เทวดาพุทธ (เทพเจ้าในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง) (เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2523).
4) สมคิด จิระทัศนกุล, รูปแบบพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; Ay_0500_c)