จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดพระคันธกุฎี

จารึก

จารึกวัดพระคันธกุฎี ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:45:43

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระคันธกุฎี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 5

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2298

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด

ผู้อ่าน

กองหอสมุดแห่งชาติ

ผู้ปริวรรต

กองหอสมุดแห่งชาติ

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศุภมัสดุ” หมายถึง ขอความดี/ความงามจงมี
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระพุทธศักราช 2298 พระวัสสา” ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2275-2301) ทรงเป็นกษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา
3. ชูศักดิ์ ทิพเกษร : “จุ” ในที่นี้หมายถึง เต็ม
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วิหารน้อย” คือ วิหารประเภทหนึ่งในจำนวน 8 ประเภท ได้แก่ วิหาร วิหารหลวง วิหารทิศ วิหารราย วิหารน้อย วิหารแกลบ วิหารคด และวิหารยอด แต่ละประเภทมีรูปแบบและหน้าที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่วิหารและวิหารหลวงจะเป็นอาคารหลัก ส่วนวิหารอื่นๆ จะอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญถัดลงไป (วิหาร ในสมัยพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ แต่ต่อมาความหมายเปลี่ยนไป โดยมักหมายถึงอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับโบสถ์)
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระเขนย” หมายถึง หมอน
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เถิง” = ถึง
7. ชูศักดิ์ ทิพเกษร : “ปลง” หมายถึง เอาลง
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปสันนาการ” หมายถึง อาการเลื่อมใส
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระสรรเพชญพุทธเจ้า” หมายถึง พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (โคตมพุทธ)
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “คันธกุฎี” เป็นชื่อเรียกพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เช่น พระคันธกุฎีที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายที่พระเชตวัน ในนครสาวัตถี เป็นต้น สำหรับพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็เรียกว่าคันธกุฎีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันว่าคันธกุฎีนั้น ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่มีอยู่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา
11. ชูศักดิ์ ทิพเกษร : ส่วนที่ลบเลือนไปคงเป็นข้อความที่มีความหมายว่าเวลาเที่ยงคืน เนื่องจากเนื้อหาที่กล่าวมาเป็นพุทธวัตรประจำวันของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้แก่
(1) ตอนเช้าเสด็จออกบิณฑบาต
(2) ตอนเย็นแสดงธรรมเทศนา
(3) ตอนพลบค่ำให้โอวาทแก่ภิกษุ
(4) ตอนเที่ยงคืนตอบปัญหาเทวดา
12. ชูศักดิ์ ทิพเกษร : “ผ้าชุบสรง” หมายถึง ผ้าอาบน้ำฝน
13. ชูศักดิ์ ทิพเกษร : “ดีด” ในที่นี้หมายถึง งัดขึ้น
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เมื่อพิจารณาจากสำเนาจารึกแล้วพบว่าเป็น “อ้น” คือใช้รูปไม้โทแทนไม้หันอากาศ
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สาตาขิรียักษ์” คือ ยักษ์ที่อาศัยอยู่บนเขาสาตาคีรีย ซึ่งในมหาสมัยสูตรระบุว่ามีจำนวน 3,000 ตน “เหมวตายักษ์” คือ ยักษ์ที่อาศัยอยู่บนเขาเหมวตา ในมหาสมัยสูตรกล่าวว่ามีจำนวน 6,000 ตน “จิตรเสนยักษ์” เป็นชื่อสารถีของท้าวจตุโลกบาล (ในมหาสมัยสูตรระบุว่าเป็นคนธรรพ์) “มายากุเฏณฑุยักษ์”, “กุเฏณฑุ” เป็นชื่อยักษ์ซึ่งเป็นบริวารของจตุโลกบาล “เวเฏณฑุยักษ์” เป็นบริวารของจตุโลกบาล
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เทวดาบรรพต” หมายถึง เทวดาที่สถิตย์อยู่ในภูเขา ส่วน เทวดาพระธรณี หมายถึงเทวดาที่สถิตย์อยู่ในดิน ทั้ง 2 เป็นภูมิเทวดา ซึ่งถือเป็นเทพชั้นต่ำ เช่นเดียวกับยักษ์
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กรุงพาลี” เป็นชื่อเมืองซึ่งพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมี แต่ถูกเจ้ากรุงพาลีขับไล่ จึงทรงขอพื้นที่จำนวน 3 ก้าว แล้วแสดงอิทธิฤทธิ์ก้าว 3 ก้าวกินพื้นที่ทั้งเมือง ทำให้เจ้ากรุงพาลีไม่มีที่อยู่ พระโพธิสัตว์จึงทรงสั่งสอนให้ตั้งมั่นในความดีและประทานที่ดินคืนให้ จากนั้นมาเมื่อมนุษย์จะทำการใดต้องทำพิธีบูชาเจ้ากรุงพาลีซึ่งเป็นเจ้าของ ที่ก่อน (ตำนานพระภูมิตามคติพุทธศาสนา ซึ่งรับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์)
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ธ” หมายถึง ท่าน, เธอ (สรรพนามบุรุษที่ 3)
19. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อวิจี” (อเวจี) เป็นนรกขุมหนึ่งใน 8 ขุม ผู้ที่ทำบาปอันเป็นปัญจานันตริยกรรม ได้แก่ การฆ่าบิดา มารดา การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต ทำร้ายพระภิกษุสงฆ์ผู้มีศีล และยุยงให้พระสงฆ์แตกจากกัน จะต้องไปตกนรกขุมดังกล่าวเป็นเวลาสิ้นกัลป์หนึ่ง
20. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กัลป, กัลป์” อายุของโลกตั้งแต่พระพรหมสร้างโลกจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งเท่ากับช่วงเวลากลางวัน 1 วัน ของพระพรหม คือ 1,000 มหายุค เท่ากับ 4,320,000,000 ปีของมนุษย์
21. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดเดิม” อาจหมายถึง วัดอโยธยา ในปัจจุบัน ซึ่งในพงศาวดารเหนือเชื่อว่าบริเวณของวัดแห่งนี้เคยเป็นวังในสมัยอโยธยา (ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา) ต่อมากษัตริย์ได้ถวายพื้นที่วังให้สร้างวัด จึงได้ชื่อว่า “วัดเดิม”