จารึกแม่อักษรขอมขุดปรอท

จารึก

จารึกแม่อักษรขอมขุดปรอท

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 09:09:37 )

ชื่อจารึก

จารึกแม่อักษรขอมขุดปรอท

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 43

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา, ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2290

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 32 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 28 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

โลหะ (ทองแดง)

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยม ขอบจ๋าหลักลาย

ขนาดวัตถุ

กว้าง 53 ซม. ยาว 45 ซม. หนา 0.7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 43”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกแม่อักษรขอมขุดปรอท”

ปีที่พบจารึก

สมบัติเดิมของหอพระสมุดวชิรญาณ

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 193-197.

ประวัติ

จารึกนี้เป็นเป็นพระราชนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสมเด็จพระพันวสาใหญ่ ทรงได้รับสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็น กรมขุนเสนาพิทักษ์ และทรงดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงเป็นกวีเอกพระองค์หนึ่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะจารึกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม จารึกอักษรขอมอยู่ภายในกรอบ แสดงการสะกดคำในแม่ ก กา เรียงลำดับอยู่ตามช่องตาราง มีอักษรไทยอธิบายไว้ตอนบน ด้านข้างและด้านหลัง จารึกแม่อักษร หรือ แบบแจกแม่อักษรนี้ คือตำรา หรือ แบบเรียนหนังสือชั้นต้นของคนไทยในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนสระและพยัญชนะ การถอดคำจารึกนั้น จะจัดกลุ่มตามลักษณะอักษร ทั้งนี้เพื่อให้อ่านคำจารึกได้เข้าใจง่ายขึ้น

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกแสดงการสะกดคำในแม่ ก กา

ผู้สร้าง

เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 1 บอกพุทธศักราช 2290

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
เทิม มีเต็ม, “จารึกแม่อักษรขอมขุดปรอท,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 193-197.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)