จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 21 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1180, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยเจนละ, ยุคสมัย-จารึกสมัยเจนละ-พระเจ้าภววรมันที่ 2, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนแท่งสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า-พระวิษณุ, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระศรีภววรมัน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, บุคคล-พระศรีภววรมัน, บุคคล-เชยษฐปุรสวามี, บุคคล-โกลญเชยษฐปุระ,

จารึกเขาน้อย

จารึก

จารึกเขาน้อย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 08:41:11 )

ชื่อจารึก

จารึกเขาน้อย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Khãu Nôi (K. 506), ศิลาจารึกเขาน้อย, ปจ. 16, จารึกหลักที่ 119, K. 506, จารึกเขาน้อยสีชมพู

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศักราช 1180

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 35 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

แท่งสี่เหลี่ยม มีเดือยหัวท้าย

ขนาดวัตถุ

กว้าง 38 ซม. สูง 139 ซม. หนา 14 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 16”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. V กำหนดเป็น “Khãu Nôi (K. 506)”
3) ในหนังสือ ปราสาทเขาน้อย จังหวัดปราจีนบุรี กำหนดเป็น “ศิลาจารึกเขาน้อย”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐานแต่มหาวิทยาลัยศิลปากรส่งสำเนาให้กองหอสมุดแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2529

สถานที่พบ

วัดเขาน้อยสีชมพู หมู่ 6 บ้านคลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ (ข้อมูลเดิมคือ จังหวัดปราจีนบุรี) จังหวัดสระแก้ว

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (บันทึกข้อมูลวันที่ 7/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscriptions du Cambodge vol. V (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1953), 23-24.
2) ปราสาทเขาน้อย จังหวัดปราจีนบุรี (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 115-121.
3) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 82-84.

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2496 ศิลาจารึกเขาน้อย ถูกกล่าวถึงในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. V ซึ่งในครั้งนั้น ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้คัดความเพียงบางส่วนของจารึกมาตีพิมพ์ ต่อมา พ.ศ. 2513 ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลข้อเขียนของ ศ. ยอร์ช เซเดส์และนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 ต่อมา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำเอาสำเนาจารึก 2 หลัก หลักละ 3 สำเนา ซึ่งได้แก่สำเนาของ “จารึกวัดกุดแต้” ซึ่งมี 10 บรรทัด จารด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ส่วนสำเนาอีกชุดเป็นของ “จารึกวัดเขาน้อยสีชมพู” มี 35 บรรทัด จารด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต 9 บรรทัด และเป็นภาษาเขมร 26 บรรทัด เมื่อตรวจสอบสำเนาจารึกดังกล่าวแล้ว พบว่า “จารึกวัดเขาน้อยสีชมพู” ดังกล่าว ตรงกับ “จารึกเขาน้อย” (Khãu Nôi (K. 506)) ที่ ศ.ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. V นั่นเอง ต่อมาจึงได้มีการอ่านและแปลจารึกวัดเขาน้อยสีชมพู โดย นายชะเอม แก้วคล้าย และ นายบุญเลิศ เสนานนท์ และได้ถูกนำไปตีพิมพ์ในหนังสือ ปราสาทเขาน้อย จังหวัดปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2533 เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย 4 เมษายน 2533 โดยในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ให้ชื่อใหม่ว่า “ศิลาจารึกเขาน้อย”

เนื้อหาโดยสังเขป

(1) เนื้อหาส่วนที่เป็นภาษาสันสกฤต กล่าวสรรเสริญพระวิษณุ และพระศรีภววรมัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึง เชยษฐปุรสวามี ว่าเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับพระเวทเพื่อบูชาพระวิษณุ
(2) เนื้อหาส่วนที่เป็นภาษาเขมร กล่าวถึงขุนนางผู้หนึ่งตำแหน่ง โกลญเชยษฐปุระ แต่ข้อความบางส่วนลบเลือน และส่วนใหญ่เป็นรายชื่อสิ่งของและข้าทาส จึงสันนิษฐานได้ว่า ในส่วนนี้อาจเป็นรายชื่อสิ่งของและข้าทาสที่เหล่าขุนนางที่เกี่ยวข้องอุทิศถวายแด่เทวสถาน

ผู้สร้าง

มรตาญโขลญเชยษฐปุระ

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามปีมหาศักราช 559 ซึ่งปรากฏในจารึก ตรงกับ พ.ศ. 1180

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) G. Cœdès, “Groupe des Inscriptions des Collines de la Région d’Arãn (K. 505-507),” in Inscriptions du Cambodge vol. V (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1953), 23-24.
2) ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์, “ศิลาจารึกเขาน้อย,” ใน ปราสาทเขาน้อย จังหวัดปราจีนบุรี (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 115-121.
3) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 119 ศิลาจารึกขอมในประเทศไทย,” แปลและตรวจโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 225-228.
4) รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, "จารึกเขาน้อย," ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 82-84.

ภาพประกอบ

1) ภาพจากการสำรวจ : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 2 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 24.
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565