จารึกสิรินันทะ

จารึก

จารึกสิรินันทะ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 13:22:40 )

ชื่อจารึก

จารึกสิรินันทะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 22, หลักที่ 43 จารึกลานเงินอักษรขอมภาษามคธ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

เงิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 4.5 ซม. ยาว 28 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 22”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 43 จารึกลานเงินอักษรขอมภาษามคธ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกสิรินันทะ”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2500

สถานที่พบ

วัดมหาธาตุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2501) : 65.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 56-57.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 106-108.

ประวัติ

จารึกสิรินันทะนี้ เมื่อพิมพ์เผยแพร่ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ใช้ชื่อว่า หลักที่ 43 จารึกลานเงินอักษรขอม ภาษามคธ การนำจารึกมารวมพิมพ์ในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนชื่อจารึกใหม่ ใช้ชื่อว่า จารึกสิรินันทะ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้พบจารึกนี้ในขณะขุดค้นที่กรุฐานพระปรางค์ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2500

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกนี้มีข้อความที่ บุคคลนามว่า สิรินันทะ กล่าวถึงตนเองว่าเป็นปราชญ์ และได้สร้างพระพุทธรูปดีบุกไว้เป็นจำนวนมาก ท้ายจารึกเป็นข้อความที่สิรินันทะอธิษฐาน ขอให้ตนเองได้รับสิ่งที่ตนเองปรารถนา อันเนื่องมาจากผลบุญที่ได้กระทำนั้น

ผู้สร้าง

สิรินันทะ

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง และฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกลานเงิน วัดมหาธาตุ จ. พระนครศรีอยุธยา,” ศิลปากร 2, 4 (พฤศจิกายน 2501) : 65.
2) ประสาร บุญประคอง และฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกสิรินันทะ,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 106-108.
3) ประสาร บุญประคอง และฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 43 จารึกลานเงินอักษรขอมภาษามคธ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 56-57.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)