จารึกวัดส่องคบ 4

จารึก

จารึกวัดส่องคบ 4

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2566 21:20:00 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดส่องคบ 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเลขที่ 50/2499, ชน. 7

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 6 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 3 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

เงิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 1.7 ซม. ยาว 16.2 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชน. 7”
2) กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดเป็น “จารึกเลขที่ 50/2499”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดส่องคบ 4”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2494

สถานที่พบ

ในพระเจดีย์วัดส่องคบ ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

ผู้พบ

พระครูบริรักษ์บรมธาตุ

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 93-95.

ประวัติ

จารึกวัดส่องคบ 4 นี้ เป็นจารึกแผ่นเงิน ลักษณะเหมือนลานขนาดเล็กมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นิยมเรียกว่าจารึกลานเงินวัดส่องคบ และเนื่องจากจารึกแผ่นนี้มีขนาดเล็กอีกทั้งเส้นอักษรก็บางมาก การอ่านและจำลองเส้นอักษรจึงทำได้ยากอย่างยิ่ง แต่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการรวบรวมจารึกเพื่อจัดพิมพ์ในครั้งนี้ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจารึกแผ่นนี้ในภาพถ่ายเห็นเส้นอักษรไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีคัดจำลองเส้นอักษรจากจารึก โดยพยายามคัดจำลองเส้นอักษรให้เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าเวลาทำงานจะมีจำกัดก็ตาม และในการคัดจำลองเส้นอักษรนั้น ใคร่ขอบอกไว้เป็นเบื่องต้นก่อนว่าอาจจะมีส่วนเส้นที่คลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับเดิมได้บ้างไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นรายนามผู้มาร่วมทำบุญ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกวัดส่องคบ 4,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 93-95.

ภาพประกอบ

ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)