อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรหริภุญชัย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างเจดีย์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างฉัตร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรหริภุญชัย,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 17:06:39 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดมหาวัน (ลำพูน) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ลพ. 3, Vat Mahāvan, ศิลาจารึกมอญ วัดมหาวัน, 1.4.1.1 วัดมหาวัน พ.ศ. 2032 |
อักษรที่มีในจารึก |
มอญโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 17 |
ภาษา |
มอญโบราณ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 85 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 20 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 78 ซม. สูง 131 ซม. หนา 24 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 3” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดมหาวันวนาราม ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสาร Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXX (1930) : 6-105. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้ถูกพบที่วัดมหาวัน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ท่านเจ้าคุณพระญาณมงคล รองเจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดมหาวัน กล่าวว่าเดิมจารึกหลักนี้เคยตั้งอยู่หน้าอุโบสถของวัด ต่อมาท่านเจ้าพระคุณพระญาณมงคล อดีตเจ้าอาวาสได้อนุญาตให้ย้าย ไปอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน จารึกหลักนี้มีการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารของสมาคมฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (BEFEO) ปีที่ 30 ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) โดยศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ (Robert Halliday) และศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (Charles Otto Blagden) ได้ร่วมกันอ่าน-แปลและเขียนบทความชื่อ “Les Inscription MÔn Du Siam” ซึ่ง ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ตีพิมพ์ใน วารสารโบราณคดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2516 ต่อมาในปี 2522 กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน และหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 (พ.ศ. 2529) โดยนายเทิม มีเต็ม เป็นผู้อ่านและสรุปความ จากนั้นมีการตีพิมพ์หนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ซ้ำอีกครั้งใน พ.ศ. 2533 อนึ่ง บทความของ ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งแปลมาจากบทความของ ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และ ศ. ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น นั้นระบุว่า จารึกหลักนี้มี 3 ด้าน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านหน้า-หลัง และด้านข้าง (สัน) ทั้ง 2 ข้าง สาเหตุที่ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนเช่นนี้ อาจเกิดจากการที่ผู้ทำสำเนาจารึกได้ทำสำเนาส่งไปให้เพียง 3 ด้าน จึงเกิดความเข้าใจผิดดังกล่าว |
เนื้อหาโดยสังเขป |
(1) ข้อความเริ่มต้นกล่าวถึง ความสัตย์ที่แท้จริง คือ จรมตฺต ในผลงานของท่าน (กษัตริย์) ผู้บำเพ็ญ พระราชกุศลในพระพุทธศาสนา |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก”มยเจดีย์” (Mayazedi) ของพระเจ้าจันสิตถา (Kyanzittha) (อักษรโรมัน Ky ในภาษาพม่าแทนเสียง /c/ ซึ่งเท่ากับ จ ในภาษาไทย) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ.1628 และ 1630 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน อนึ่ง อาณาจักรพุกามมีการรับอิทธิพลด้านตัวอักษรไปจากมอญ เมื่อพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ทรงยกทัพไปตีเมืองสะเทิม (ถะทนหรือสุธรรมวดี) ซึ่งเป็นราชธานีของหัวเมืองมอญฝ่ายใต้สำเร็จ จึงได้มีการกวาดต้อนผู้คน ช่างฝีมือ ตลอดจนภิกษุสงฆ์ และคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ในดินแดนดังกล่าวไปสู่พุกาม ทำให้วัฒนธรรมมอญ แพร่หลายในพุกาม รวมไปถึงการใช้ตัวอักษร โดยศาสตราจารย์ เรอชินาล์ด เลอเมย์ (Reginald Le May) กล่าวว่า พม่ารับวัฒนธรรมการเขียนหนังสือไปจากมอญ เมื่อราว พ.ศ. 1606 ซึ่งพระเจ้าจันสิตถานั้นก็คือผู้ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) นั่นเอง |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; LPh_0301_c, LPh_0302_c, LPh_0303_c และ LPh_0304_c) |