จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน

จารึก

จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 15:06:40 )

ชื่อจารึก

จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Thăm Pĕt T’ông K. 513, บร.3, K.513

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

ผนังภายในถ้ำ

ขนาดวัตถุ

บริเวณจารึกขุดหินผนังถ้ำให้เรียบเป็นหน้าสมุดลึกประมาณ 5 มม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 3”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. II กำหนดเป็น “Thăm Pĕt T’ông K. 513”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ถ้ำเป็ดทอง ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ (ข้อมูลเดิมคือ ตำบลประคำ อำเภอนางรอง) จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ถ้ำเป็ดทอง ฝายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 (ฝายปะคำ) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปลายมาศ สำนักชลประทานที่ 3 กรมชลประทาน ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ (บันทึกข้อมูลวันที่ 6/3/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXII (1922) : 92.
2) L’art Khmèr primitive, 2 vols. (Paris : École Française d’Éxtrême-Orient, 1927), 241.
3) Inscriptions of Kambuja (Calcutta : The Asiatic Society, 1953), 19-20, 626-627.
4) Inscriptions du Combodge vol. II (Hanoi : Imprimerie d'extrême-orient, 1942), 134.
5) Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1966), 160-161.
6) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 147-150.

ประวัติ

ศิลาจารึกถ้ำเป็ดทอง เป็นจารึกที่ปรากฏอยู่บริเวณผนังถ้ำด้านนอกและด้านในของถ้ำ มีหลักฐานตามประวัติเดิมกล่าวไว้ว่า ถ้ำเป็ดทองนี้อยู่ในเทือกเขาเตี้ยๆ เขตอำเภอลำปลายมาศและอำเภอนางรองติดต่อกัน ระหว่างเทือกเขาในเขตลำปลายมาศ มีรอยหัก น้ำไหลผ่านได้ บริเวณถ้ำมีรอยน้ำเซาะ เป็นซอกหินขาดเป็นตอนๆ รูปคล้ายเรือโป๊ะบ้าง เรือกลไฟบ้าง บริเวณอักษรจารึกนั้น มีรอยขุดหินผนังถ้ำลึกประมาณ 5 มม. ให้ผนังเรียบเป็นหน้าสมุด แล้วจึงจารึกตัวอักษร มีผู้เล่ากันว่า ภายในถ้ำนี้ แต่เดิมมีเสาหินค้ำเพดานถ้ำอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันเสานั้นไม่มีแล้ว คงมีแต่หลุมเปล่า ปัจจุบันได้กำหนดให้ถ้ำเป็ดทองเป็นพื้นที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของบ้านหินโดนใหญ่ ตำบลประคำ อำเภอนางรอง (ข้อมูลปัจจุบันคือ ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ) จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับประวัติเกี่ยวกับการศึกษาและตีพิมพ์นั้น Erik Seidenfaden ได้กล่าวถึงจารึกถ้ำเป็ดทองโดยอ้างการศึกษาของ ศ. ยอร์ช เซเดส์ ว่าข้อความของจารึกถ้ำเป็ดทองด้านในนี้ เป็นข้อความเดียวกันกับ จารึกจรวยอัมปิล (Črûoy Ampĭl) (K. 116) และ จารึกถมอแกร (Thma Krê) (K. 122) ซึ่งพบในประเทศกัมพูชา จารึกที่พบที่ถ้ำเป็ดทองนี้ จำแนกออกได้เป็น 3 แห่ง คือ จารึกแห่งที่ 1 อยู่ภายในถ้ำ โดยทางหอสมุดแห่งชาติกำหนดเรียกว่า “จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน บร. 3” จารึกแห่งที่ 2 อยู่บริเวณผนังถ้ำด้านนอก โดยทางหอสมุดแห่งชาติกำหนดเรียกว่า “จารึกถ้ำเป็ดทองด้านนอก บร. 4” จารึกแห่งที่ 3 ก็อยู่บริเวณผนังถ้ำด้านนอกเช่นเดียวกันกับจารึกแห่งที่ 2 โดยทางหอสมุดแห่งชาติกำหนดเรียกว่า “จารึกผนังถ้ำเป็ดทอง บร. 5” สำหรับ จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน นี้ ชะเอม แก้วคล้าย ตั้งข้อสังเกตว่า ดูเหมือนว่า ผู้จารึกยังไม่เข้าใจไวยากรณ์ของภาษาสันสกฤตดีนัก จึงทำให้ใช้ภาษาสันสกฤตไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื่องจากจารึกถ้ำเป็ดทอง 1 (ด้านใน) นี้ จารึกยังไม่เสร็จทำให้เนื้อความที่ได้ไม่สมบูรณ์ ทราบแต่เพียงว่ากล่าวถึงบิดาและมารดา แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบเนื้อหาของจารึกถ้ำเป็ดทอง 1 (ด้านใน) กับจารึกที่พบในกัมพูชา 2 หลัก คือ จารึกจรวยอัมปิล (Črûoy Ampĭl) (K. 116) และ จารึกถมอแกร (Thma Krê) (K. 122) แล้วพบว่าน่าจะมีข้อความเดียวกัน ดังนั้นจึงขอนำเนื้อหาของจารึกทั้ง 2 หลักดังกล่าวมาใช้แทนเนื้อหาของจารึกถ้ำเป็ดทอง 1 (ด้านใน) ซึ่งมีดังนี้คือ จารึกถ้ำเป็ดทอง 1 (ด้านใน) นี้ น่าจะทำขึ้นโดยรับสั่งของเจ้าชายจิตรเสน แห่งเมืองเศรษฐปุระ หรือ ที่ปัจจุบันรู้จักกันในนาม “อาณาจักรเจนละ” โดยในขณะนั้น ยังมิได้ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงขอพระบรมราชานุญาตพระราชบิดาและพระราชมารดา สถาปนาพระศิวลึงค์ขึ้นด้วยความเคารพ อันแสดงให้เห็นว่าเจ้าชายจิตรเสนทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบของตัวอักษรปัลลวะ ได้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 นอกจากนี้ รูปอักษรจารึกเหมือนกันกับอักษรจารึกวัดสุปัฏนาราม ฉะนั้น จึงจัดอยู่ในสมัยเดียวกันคือ พุทธศตวรรษที่ 12

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) M. L. Finot, “Notes d’Épigraphie : IV Inscription de Thma Krê (Cambodge),” Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient III (1903) : 212-213.
2) Erik Seidenfaden, “Complément à l’inventaire descriptif des monuments du Cambodge pour les quatre province du Siam oriental,” Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XXII (1922) : 92.
3) R. C. Majumdar, “No. 14 Thma Kre inscription of Citrasena,” in Inscriptions of Kambuja (Calcutta : The Asiatic Society, 1953) : 19-20, 626-627.
4) George Cœdès, “Stèle de Črûoy Ampĭl (K. 116 = Corpus, LXII),” Inscriptions du Combodge vol. II (Hanoi : Imprimerie d'extrême-orient, 1942), 160-161.
5) George Cœdès, “Liste générale des inscriptions du Cambodge: K. 116,” in Inscriptions du Cambodge vol. VIII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1966), 94-95.
6) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 147-150.