จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน

จารึก

จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 21:26:31

ชื่อจารึก

จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Thăm Pĕt T’ông K. 513, บร.3, K.513

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : “ภควต” เป็นการใช้ศัพท์ผิด กล่าวคือ คำว่า “ภควต” จากศัพท์เดิมว่า “ภควตฺ” เมื่อเป็นทฺวิติยาวิภัตติ ควรเป็น “ภควตํ” แต่ในจารึกเพียงแต่วางรูปศัพท์ไว้โดยไม่ประกอบวิภัติ
2. ชะเอม แก้วคล้าย : “ศรฺณมุคตา” อ่านตามความเข้าใจว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะการใช้ศัพท์ผิดๆ ดังกล่าว อักษร “ค” คงจารึกตกไป จึงไว้บนอักษร “ม” และ “ต” แยกศัพท์เป็น ศรฺณํ (ศรณะ) + อุคตะ มีสระ “อุ” อยู่หลัง แปลงนิคหิตเป็น “มฺ”
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ปิตฺโร” ถ้าเป็นภาษาสันสกฤต ทวิพจน์จะเป็น “ปิตเรา” เข้าใจว่า ผู้จารึกมีความถนัดทางภาษาบาลี เพราะบาลี พหูพจน์จะเป็น “ปิตฺโร” แต่อักษร “ต” เป็นพยัญชนะเต็ม ฉะนั้นคำว่า “ปิตฺโร” อักษร “ตฺ” ครึ่งตัวจะไม่มีทั้งภาษาบาลีและสันสกฤต เข้าใจว่า ผู้จารึกต้องการจะให้เป็น “ปิตโร” (ศัพท์บาลี) แต่จารึกอักษรซ้อนเป็นภาษาสันสกฤต
4. วชรพร อังกูรชัชชัย : “รฺ มาตา” เข้าใจว่า “พิมพ์ผิด” เพราะพิจารณาจากสำเนาจารึกที่ตีพิมพ์คู่กันกับคำอ่าน ก็ชัดเจนอยู่ว่า ควรจะเป็น “รฺ มฺมาตาปิโตฺรรฺ” เหมือนกับที่ปรากฏในจารึกจรวยอัมปิล (K. 116)