จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา 1

จารึก

จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 20:46:50 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สฎ. 4, หลักที่ 24 (ข.) ศิลาจารึกวัดหัวเวียง เมืองไชยา, จารึกที่ 24 จารึกที่วัดหัวเวียง อำเภอไชยา

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ, กวิ

ศักราช

พุทธศักราช 1774

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 16 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินชนวน

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 47 ซม. สูง 181 ซม. หนา 14 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สฎ. 4”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 24 (ข.) ศิลาจารึกวัดหัวเวียง เมืองไชยา”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “จารึกที่ 24 จารึกที่วัดหัวเวียง อำเภอไชยา”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา 1”
5) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/39/2560"

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2447

สถานที่พบ

วัดเวียง ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้พบ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472), 41-42.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2504), 27-31.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 144-146.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากวัดหัวเวียง (ปัจจุบันคือ วัดเวียง) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี พร้อมกับจารึก สฎ. 3 (รายละเอียดอื่นๆ ดูเพิ่มเติมใน ประวัติจารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา 2 สฎ. 3) การพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำคำอ่าน-แปลของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ มาพิมพ์ไว้ ซึ่งอ่านได้เพียง 8 บรรทัดเท่านั้น

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึง พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมราช ผู้ครองเมืองตามพรลิงค์ และสืบตระกูลจากปทุมวงศ์ ว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่สนับสนุนพระพุทธศาสนา ทรงมีรูปงาม และทรงเชี่ยวชาญในนิติศาสตร์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 ได้ระบุชื่อเมืองคือ “ตามพรลิงค์” ซึ่งก็คือแคว้นที่เคยตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน และในบรรทัดที่ 3 ได้ระบุพระนามเจ้าผู้ครองแผ่นดินคือ “ศรีธรรมราช” อีกทั้งในบรรทัดที่ 7-8 ยังได้ระบุปีไว้ คือ กลียุคศักราช 4332 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1774 จึงกำหนดได้ว่า จารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรกวิ อายุพุทธศตวรรษที่ 18

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 24 ศิลาจารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา,” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 : จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย ([กรุงเทพฯ] : โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472), 41-42.
2) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกที่ 24 จารึกที่วัดหัวเวียง อำเภอไชยา,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้, พิมพ์ครั้งที่ 2 [แก้ไขใหม่] (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 27-31.
3) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 144-146.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-21, ไฟล์; Sdh_0400_c)