จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 8

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 8

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2566 09:13:40 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 8

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกปราสาทพนมรุ้ง 8, บร. 14, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 196/2532

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 17

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 31 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 47 ซม. สูง 98 ซม. หนา 15.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 14”
2) ในวารสาร ศิลปากรปีที่ 31 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2530) กำหนดเป็น “จารึกปราสาทพนมรุ้ง 8”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บริเวณระเบียงคดทิศเหนือด้านตะวันตก ปราสาทหินพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอนางรอง) จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

นายระพีศักดิ์ ชัชวาลย์ หัวหน้าโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 30/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสารศิลปากร ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2530) : 32-41.

ประวัติ

เนื่องจากหลักศิลาจารึกได้ชำรุดแตกหักหายไปเป็นบางส่วน โดยเฉพาะส่วนบนและส่วนทางซ้ายมือของหลัก จึงเหลืออักษรข้อความเพียงครึ่งหนึ่งที่เป็นส่วนทางขวามือเท่านั้น โดยสังเกตได้จากคำจารึกที่เป็นโศลกภาษาสันสกฤต ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักจารึกเพียงสองบาทคาถา แสดงว่าชำรุดหายไปครึ่งหนึ่ง คือสองบาทคาถา บางส่วนของบาทคาถาที่สอง มีปรากฏอยู่ในบางบรรทัด ที่สุดของแต่ละบรรทัดจะมีเครื่องหมายจบโศลก ฉะนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่า อักษรข้อความในจารึกหนึ่งบรรทัดจะมีคำจารึกหนึ่งโศลกหรือสี่บาทคาถา แต่ส่วนที่เหลือในหลักจารึกนี้มีเพียงครึ่งโศลกหรือสองบาทคาถาเท่านั้น ฉะนั้น ส่วนที่หายไปคือ บาทที่ 1 และบาทที่ 2 ส่วนที่คงเหลืออยู่คือบาทที่ 3 และบาทที่ 4

เนื้อหาโดยสังเขป

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างสระศรีสูรยะ พร้อมทั้งเทวรูปศิวนาฏราช พระนารายณ์ พระลักษมีฤตะ พระมธุสูทนะ และพระเทวี

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดตามรูปแบบอักษรขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพิจารณาจากข้อความในจารึก บรรทัดที่ 22 ที่กล่าวถึงสระน้ำชื่อศรีสูรยะ ซึ่งเป็นพระนามของพระเจ้าศรีสูรยวรมัน แสดงว่าตั้งชื่อสระน้ำตามชื่อผู้สร้าง แต่พระเจ้าศรีสูรยวรมันมีสองพระองค์คือ ศรีสูรยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) และศรีสูรยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-1688) ดังนี้ จึงต้องพิจารณาเปรียบเทียบข้อความในจารึกและรูปอักษรกับจารึกหลักอื่นๆ ของแต่ละรัชกาล ซึ่งพบว่า จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 8 นี้ ได้กล่าวถึงการสร้างพระศิวลึงค์และเทวรูปต่างๆ เหมือนกับข้อความในจารึกของพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 2 ได้แก่ จารึกสร้างเทวรูป จารึกปราสาททัพเสียม 2 และจารึกปราสาทหินพระวิหาร 2 ซึ่งกล่าวถึงการสร้างเทวสถานและเทวรูปเช่นเดียวกัน อีกทั้งรูปอักษรในจารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 8 นี้ ยังมีรูปแบบเหมือนกับรูปอักษรในจารึกปราสาทหินพระวิหาร 2 ทุกประการ ดังนั้น จึงกำหนดได้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาทหินพนมรุ้งที่พบใหม่ จารึกปราสาทพนมรุ้ง 8,” ศิลปากร 31, 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน, 2530), 32-41.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-10, ไฟล์; BR_011)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 16-19 พฤษภาคม 2551