1. ชะเอม แก้วคล้าย : “ราชทานมหาป-ศตษทฺวงฺศทุตฺตรมฺ” มีศัพท์ที่พอจะแปลได้ แต่จะไม่ได้ความหมายเท่าที่ควร เพราะสระบนพยัญชนะได้ชำรุดหายไป จึงไม่มีการแปลข้อความในบรรทัดนี้
2. ชะเอม แก้วคล้าย : “ทิคนฺตราลาคตราชเ-ไกสฺ” มีพยัญชนะไม่สมบูรณ์ ชำรุดหายไปเหลือแต่สระเอ ส่วนคำตามมาคือ “ไกสฺ” จึงไม่ทราบว่า มีความหมายเกี่ยวกับ ราชศัพท์ ที่มาจากทิศต่างๆ อย่างไร
3. ชะเอม แก้วคล้าย : “พระลักษมีธฤตะ” = ผู้ค้ำจุนพระลักษมี เป็นชื่อของพระนารายณ์
4. ชะเอม แก้วคล้าย : “พระมธุสูทนะ” = ผู้ทรมานยักษ์มีชื่อว่า “มธุ” เป็นชื่อของพระวิษณุ หรือพระกฤษณะ
5. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ภงฺคินะ” แปลว่า ผู้ถูกทำให้แตกกระจัดกระจาย หมายถึงผู้แพ้ภัยสงครามต้องอพยพหนีไปอาศัยเมืองอื่น
6. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ปูชารฺหมโหทย” อาจจะแยกศัพท์ได้สองอย่าง คือ ปูชารฺห + มโหทย และ ปูชารฺหํ + อโหทย (อห + อุทย) ซึ่งจะทำให้คำแปลต่างกันได้ “มโหทย” แปลว่า ผู้นำโชคอันยิ่งใหญ่ ส่วน “อโหทย” แปลว่า พระอาทิตย์ที่เที่ยงตรง เพื่อให้เนื้อความสอดคล้องกับบรรทัดที่ 15 จึงถือเอาความหมายของศัพท์ “มโหทย”
7. ชะเอม แก้วคล้าย : “ศิวบาท” ตามศัพท์แปลว่า ใกล้บาทของพระศิวะ
8. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ศราไขฺยสฺ” มีปัญหาในการอ่านแปล เพราะสระไอชำรุดหายไป เหลือเส้นเพียงเล็กน้อย ที่ทำให้เข้าใจว่าน่าจะเป็นสระไอ และ อักษร “ศ” อาจจะเป็นอักษร “ค” ก็ได้ เพราะมีเส้นยาวตัดทั้งอักษร “ศ” “ร” และสระเอ ส่วนอักษร “ส” มีเครื่องหมายสะกดอยู่บน ซึ่งตามหลักภาษา น่าจะเขียนอักษร “ส” สองตัวซ้อนอยู่บนอักษร “ถ” จึงได้แปลทับศัพท์ว่า “ศราขยะ” ตามศัพท์แปลว่า “ชื่อศร”
9. ชะเอม แก้วคล้าย : “พระวฤษธวชะ” เป็นชื่อพระศิวะ
10. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “จขานปาเท” รูปอักษรชัดเจน ไม่สามารถอ่านเป็นอื่นได้ จึงแปล “จขานะ” เป็นชื่อเฉพาะของภูเขา
11. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ศฺรีสูรฺยฺยชลาศยมฺ” แปลว่า สระน้ำชื่อศรีสูรยะ หรือ สระน้ำของพระเจ้าศรีสูรยะ เป็นการตั้งชื่อสระน้ำตามชื่อของผู้สร้าง
12. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “เสตุพนฺธา” หรือ “เสตุวนฺธา” เป็นชื่อสันเขาที่ทอดไปสู่เกาะลังกา
13. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ศรฺวาณิ” แปลว่า การไหล ยื่น ทอดไป จึงถือโดยความหมายว่า ทางที่ทอดไปตามสันเขา
14. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “สํปฺลวํ” ตามศัพท์แปลว่า การน้อมเข้ามารวมกัน การเอียงเข้ามารวมกัน ถือโดยความหมายว่า เป็นศูนย์รวม หรือศูนย์กลาง หมายถึง เป็นศูนกลางความเชื่อถือของประชาชน
15. ชะเอม แก้วคล้าย : บรรทัดนี้ กล่าวถึงความเป็นธิดาของนางศกุนตลา กับพระกัณวะฤษี (ในหลักจารึกเขียนเป็น กนฺว) แต่สองบาทคาถาแรกชำรุดหายไป จึงไม่ทราบสาเหตุของการกล่าวถึงวรรณคดีตอนที่ นางศกุนตลา เป็นลูกเลี้ยงของกัณวะพราหมณ์
|