จารึกปราสาทหินพิมาย 3

จารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 21:07:00 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

P’ĭmay (K. 397), จารึกหลักที่ 61 จารึกที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดปราสาทหินพิมาย, นม.16, จารึกหลักที่ 61, K.397

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1655

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

สี่เหลี่ยม

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 16”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “P’ĭmay (K. 397)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “จารึกหลักที่ 61 จารึกที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดปราสาทหินพิมาย”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพิมาย 3”

 

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

กรอบประตูซุ้มระเบียงคดด้านทิศใต้ ปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 20/1/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2502) : 55.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 131-134.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 35-40.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ได้พบเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐาน ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้ลงทะเบียนใน Inscriptions du Cambodge เป็นจารึกเลขที่ K. 397 ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ใช้ชื่อเรื่องว่า จารึกหลักที่ 61 จารึกที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดปราสาทหินพิมาย แต่การพิมพ์ครั้งนี้ได้กำหนดชื่อจารึกใหม่ตามนามสถานที่พบจารึกนั้นๆ ว่า จารึกปราสาทหินพิมาย

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นบันทึกว่าในแต่ละปี (ตั้งแต่มหาศักราช 1030-1034) ขุนนางหรือข้าราชการคนใดถวายสิ่งใดแก่เทวสถานบ้าง สิ่งที่ถวายก็มีอาทิเช่น สิ่งของ ทาส และที่ดิน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 24 บอกมหาศักราช 1034 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1655

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกปราสาทหินพิมาย 3,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 35-40.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกหลักที่ 61 จารึกที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดปราสาทหินพิมาย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 131-134.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ และแสง มนวิทูร, “ศิลาจารึกอักษรขอม ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรที่ปราสาทหินพิมาย,” ศิลปากร 2, 5 (มกราคม 2502) : 53-59.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-05, ไฟล์; NM_023)