จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพิมาย 3

จารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 3 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2564 23:59:11

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

P’ĭmay (K. 397), จารึกหลักที่ 61 จารึกที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดปราสาทหินพิมาย, นม.16, จารึกหลักที่ 61, K.397

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1655

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)

ผู้แปล

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ส่วนใหญ่อ่านเป็น “ศรีวีเรนทราธิบดีวรมัน”
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เฉก” (ฉะ-เก)
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “กำพฤก”
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน คำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ในจารึกในประเทศไทย เล่ม 4 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “สมภบ”
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ขทิง”
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “คันธะ” หรือ “คนธะ”
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านที่พิมพ์เผยแพร่ใน “จารึกในประเทศไทย เล่ม 4” อ่านเป็น “มตฺตหรณ” แต่เมื่อพิจารณาตัวอักษรในภาพสำเนาจารึกแล้ว เห็นว่า น่าจะอ่านเป็น “มตฺตวารณ” ที่ แปลว่า “ระเบียง หรือ มุข” มากกว่า
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เขวียว”
10. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน คำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ในจารึกในประเทศไทย เล่ม 4 ตัวพยัญชนะ “ต” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “ด” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ต” และ “ด” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “ด” ให้อ่านเป็น “ต” ทั้งหมด
11. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 9
12. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “สลิก”, “สลิก” เป็นมาตราวัดระยะทางอย่างหนึ่ง, 1 สลิกเท่ากับ 400 หน่วย, ดังนั้น 4 สลิก ก็เท่ากับ 1,600 หน่วย
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “ภัย” คือจำนวน 20
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 9
15. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าคำอ่านผิด หรือคำแปลผิด เพราะในคำอ่าน อ่านเป็น “อุตฺตร” (ด้านเหนือ) ส่วนในคำแปล แปลว่า ด้านใต้ ซึ่งเป็นคนละความหมายกัน ยังไม่สามารถตรวจสอบจากรูปอักษรในจารึกได้ เพราะสำเนาจารึกที่มีอยู่ตอนนี้มีเส้นอักษรที่ไม่ชัดเจน
16. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “ฉนัญ” หมายถึงมาตราวัดความยาวอย่างหนึ่ง มีจำนวนมากกว่า 400 หน่วย
17. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “กันสยำ” หรือ “กันเสียม”
18. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 7
19. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “กันเรียบ”
20. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 2
21. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ส่วนใหญ่อ่านเป็น “กัมรเตงอัญศรีวีรวรมัน”
22. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เขทบ” (ขะ-เทบ)
23. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 5
24. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 2
25. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 3
26. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 2
27. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 6
28. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 14
29. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 3
30. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 15
31. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : บางครั้งอ่านเป็น กมรเตงอัญศรีธรณีนทรวรมันเทวะ
32. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบายข้อ 1
33. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : เป็นคนเดียวกันกับ กมรเตงชคตพิมาย