จารึกปราสาทหินพนมวัน 3

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 19:07:33 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Inscriptions de Nom Văn (K. 391), K. 391, นม. 1

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1625

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 42 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

หลืบประตู รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 50 ซม. สูง 180 ซม. หนา 33 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 1”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VI กำหนดเป็น “Inscriptions de Nom Văn (K. 391)”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพนมวัน 3”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2444

สถานที่พบ

หลืบประตูชั้นในด้านทิศใต้ ฟากตะวันตก ติดอยู่กับตัวปราสาทชั้นใน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวปราสาทหินพนมวัน บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

พระรังสรรค์สารกิจ

ปัจจุบันอยู่ที่

ประตูด้านใต้ ปราสาทหินพนมวัน บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 20/1/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 297-299.
2) ปราสาทหินวัดพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา นำเที่ยวพิมาย และโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 25-31.
4) ภาพจากการสำรวจ : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 2 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 300-302.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้เมื่อแรกพบพระรังสรรค์สารกิจ เป็นผู้ทำสำเนาจารึกด้วยวิธีจำลองรูปอักษรด้วยหมึกสีแดงด้วยกระดาษเพลาแผ่นบางๆ มีหนังสือส่งมอบสำเนาจารึกประทับตรากรมราชเลขานุการ รับวันที่ 17 สิงหาคม ร.ศ. 120 ตรงกับ พ.ศ. 2444 ส่งถวายกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมขุน ศิลาจารึกเลขที่ นม. 1 นี้ สร้างขึ้นในมหาศักราช 1004 ตรงกับ พ.ศ. 1625 ข้อความในศิลาจารึก นม. 1 มีผู้สนใจอ่าน-แปลหลายท่าน ที่พิมพ์เผยแพร่แล้วในหนังสือเรื่องปราสาทหินวัดพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา กับหนังสือเรื่อง นำเที่ยวพิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา เป็นคำอ่าน-แปลของศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge เป็นคำอ่าน-แปลภาษาฝรั่งเศสของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ จารึกนี้เมื่อพิมพ์ในหนังสือดังกล่าวข้างต้นใช้ชื่อเรื่องว่า ศิลาจารึกปราสาทหินวัดพนมวัน ส่วนคำอ่าน-แปลที่นำมาพิมพ์ในครั้งนี้ นายประสาร บุญประคอง อ่าน และ นายทองสืบ ศุภะมาร์ค แปล

เนื้อหาโดยสังเขป

ในมหาศักราช 1004 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาพระกัมรเตงอัญคนอื่นๆ ช่วยกันดูแลอาศรม และให้ถวายสิ่งของแก่กมรเตงชคตเป็นประจำ นอกจากนี้ยังทรงถวายทาสและสิ่งของอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพวกทาสนั้น ทรงมีพระบรมราชโองการห้ามอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใด และทรงห้ามพวกทาสเหล่านี้ทำพิธีกรรมอื่นๆ อีกด้วย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 1004 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1625

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Goerge Cœdès, “Inscriptions de Nom Văn (K. 391),” in Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 296-299.
2) ประสาร บุญประคอง และทองสืบ ศุภะมาร์ค, “จารึกปราสาทหินพนมวัน 3,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 25-31.
3) รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, "," ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 300-302.

ภาพประกอบ

1 ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-05, ไฟล์; NM_025)
2 ภาพจากการสำรวจ : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 2 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 184.