จารึกปราสาทหินพนมวัน 7

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 7

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 20:58:22 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 7

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นม. 6, 1/2519, K.1077

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 12 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 6 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปส่วนหนึ่งของใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 12 ซม. สูง 18 ซม. หนา 7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 6”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพนมวัน 7”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2513

สถานที่พบ

ปราสาทหินพนมวัน บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 29/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 103-106.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้เป็นส่วนของเสมาที่พบในบริเวณปราสาทหินพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีจารึกข้อความทั้งสองด้าน ด้านที่ 1 จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤต ด้านที่ 2 จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาเขมร จากหลักฐานซึ่งเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี บันทึกไว้เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2513 ทำให้ทราบว่าจารึกชิ้นนี้มีขนาดกว้าง 12 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร หนา 7 เซนติเมตร

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ได้กล่าวว่า พระอาทิตย์บนท้องฟ้าแห่งนี้ เป็นต้นวงศ์ของศรีกัมพุช ด้านที่ 2 จารึกเป็นภาษาเขมร ได้บอกพระนามของพระเจ้าราเชนทรวรมันหรือพระบาทศิวโลก

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้กำหนดไว้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ตอนต้น

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
อำไพ คำโท, “จารึกปราสาทหินพนมวัน 7,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 103-106.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-04, ไฟล์; NM_021f1 และ NM_021f2)