จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 6

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 6

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 20:39:06 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 6

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stele de Phnom Rung (ชิ้นที่ 1 = K. 1072, ชิ้นที่ 2 = K. 1091, ชิ้นที่ 3 และ 4 = K. 1071), บร.13 ชิ้นที่ 1, บร.34, K.1072, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 103/2531, K. 1072, K. 1091, K. 1071

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด เป็น 4 ชิ้น ชิ้นที่ 1 มี 9 บรรทัด ชิ้นที่ 2 มี 2 บรรทัด ชิ้นที่ 3 มี 3 บรรทัด ชิ้นที่ 4 มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

เป็นชิ้นส่วนของหลักจารึกซึ่งชำรุดแตกเป็นชิ้น

ขนาดวัตถุ

ไม่แน่นอน แต่ละชิ้นประมาณขนาดได้ กว้าง 14 ซม. สูง 23 ซม. หนา 13 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 13”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 6”
3) ในหนังสือ Nouvelles Inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น “Stele de Phnom Rung (ชิ้นที่ 1 = K. 1072, ชิ้นที่ 2 = K. 1091, ชิ้นที่ 3 และ 4 = K. 1071)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอนางรอง) จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 30/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2521), 39-44, 66.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 273-279.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้เป็นกลุ่มจารึกที่แตกออกจากหลักศิลาใหญ่ ลักษณะเป็นเศษศิลาชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้ลงทะเบียนไว้ในหนังสือ Nouvelles Inscriptions du Cambodge II โดยแยกจารึกเหล่านี้ออกเป็น 3 กลุ่ม หรือ 3 หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับจารึก บร. 13 ทั้ง 4 ชิ้น แล้วจะมีลำดับดังนี้
บร. 13 ชิ้นที่ 1 บรรทัดที่ 1-2 ตรงกับ K. 1072 ด้าน A
บร. 13 ชิ้นที่ 1 บรรทัดที่ 3-9 ตรงกับ K. 1072 ด้าน B
บร. 13 ชิ้นที่ 2 บรรทัดที่ 1-2 ตรงกับ K. 1091 ด้าน
บร. 13 ชิ้นที่ 3 บรรทัดที่ 1-8 ตรงกับ K. 1071 ด้าน A
บร. 13 ชิ้นที่ 4 บรรทัดที่ 1-6 ตรงกับ K. 1071 ด้าน B

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความไม่สมบูรณ์ทั้ง 4 ชิ้น ชิ้นที่ 1 กล่าวห้ามไม่ให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปในอาณาเขตของอาศรม จากนั้นก็กล่าวถึงอาณาเขตของอาศรม ชิ้นที่ 2 มีคำจารึกอยู่ 2 คำ จับใจความไม่ได้ ชิ้นที่ 3 กล่าวถึงการถวายสิ่งของและทาสแด่เทวสถาน ชิ้นที่ 4 เป็นคำสาปแช่งผู้ที่ล่วงละเมิด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 16

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2521), 39-44, 66.
2) อำไพ คำโท, “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 6,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 273-279.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 16-19 พฤษภาคม 2551
3) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-09, ไฟล์; BR_009p3 และ BR_009p4)