จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ

จารึก

จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2566 20:26:15 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

เลขที่ 28/2526, หลักที่ 294 จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ, สท. 54

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 1999-2005

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองคำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสภาพชำรุดเนื้อทองบางส่วนขาดหาย

ขนาดวัตถุ

กว้าง 2.4 ซม. ยาว 6.8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 54”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย กำหนดเป็น “เลขที่ 28/2526”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ”
4) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 294 จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526

สถานที่พบ

บริเวณเมืองเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

นางสาวพัชรี โกมลธิติ

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 201-203.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 70-72.

ประวัติ

จารึกหลักนี้มีประวัติว่านายดำรงค์ สุวรรณเมฆินทร์ ได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 700 ปีลายสือไทย โดย นางสาวพัชรี โกมลฐิติ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานฯ เป็นผู้รับมอบในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนวัตถุไว้เป็นหมายเลข สท. 54 นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้อ่านและจัดทำคำอ่าน จารึกหลักนี้ลงพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 ซึ่งกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นผู้พิมพ์เผยแพร่ แต่อย่างไรก็ตาม ในการนำ จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ มาลงพิมพ์ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้ตรวจแก้ทั้งคำอ่านจารึกและคำอ่านแบบปัจจุบัน ให้ถูกต้องและเข้าใจได้ดีขึ้น

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกเล่าว่า เมื่อท่านเจ้าวัดบริพารภิกษุได้เป็นเจ้าอาวาสมาได้สี่ปีเศษ นายญี่งามและคณะได้ร่วมกันบรรจุพระธาตุ 3 แห่ง ที่บลังรุ้งแห่งหนึ่ง บลังเกตแห่งหนึ่ง และนิรันตะแห่งหนึ่ง ในที่นี้ยังไม่อาจสรุปได้แน่นอนว่า ที่กล่าวว่าบรรจุพระธาตุ 3 แห่งนั้น หมายถึงบรรจุพระธาตุ 3 องค์ลงในที่สามแห่งของพระเจดีย์เดียวกัน หรือ บลังรุ้ง บลังเกต และนิรันตะ เป็นชื่อเรียกเจดีย์แต่ละองค์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้มีความเห็นเพิ่มเติมว่า จากลักษณะรูปตัวอักษร และการวิเคราะห์บริบททางประวัติศาสตร์ จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ น่าจะทำขึ้นระหว่างพุทธศักราช 1999 ถึง 2005

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 201-203.
2) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “หลักที่ 294 จารึกเจ้าวัดบริพารภิกษุ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 70-72.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกและภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)