จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 1)

จารึก

จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 1)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 20:35:39 )

ชื่อจารึก

จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 1)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Lŏp’bŭri (San Sung) (K. 410), หลักที่ 19 ศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 1), จารึกที่ 19 ศิลาจารึกภาษาเขมรที่ศาลสูง, ลบ. 2, K. 410

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1568

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 29 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 30 ซม. สูง 130 ซม. หนา 17 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 2”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “Lŏp’bŭri (San Sung) (K. 410)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 19 ศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 1)”
4) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “จารึกที่ 19 ศิลาจารึกภาษาเขมรที่ศาลสูง”
5) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 1)
6) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/23/2560"

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2440-2450

สถานที่พบ

โบราณสถานศาลสูง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้พบ

พระครูสังฆภารวาหะ วัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472), 25-27.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2504), 12-14.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 159-163.

ประวัติ

พระครูสังฆภารวาหะ วัดเสาธงทองเมืองลพบุรี ได้พบศิลาจารึกหลักนี้อยู่ที่ศาลสูง แล้วยกเอาไปถวายพระมงคลทิพย์ เจ้าคณะพระพุทธบาท แต่พระมงคลทิพย์ไม่ได้เอาไว้รักษาเอง เอาไปถวายเจ้าพระสังวรปราสาทซึ่งในเวลานั้นอาศัยอยู่ที่วัดบวรนิเวศ แล้วเจ้าพระสังวรปราสาทก็เอาหลักศิลานั้นไปทูลถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตั้งแต่นั้นมาหลักศิลาได้อยู่บนฐานพระเจดีย์วัดบวรนิเวศเพิ่งได้ย้ายเอามาไว้ในหอพระสมุดฯ เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466

เนื้อหาโดยสังเขป

มีใจความว่า ครั้งแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เมื่อมหาศักราช 944 และ 947 (พ.ศ. 1565 และ 1568) มี “พระนิยม” ตรัสให้บรรดาชีสงฆ์ ซึ่งอาศัยอยู่ในอาวาสต่างๆ ทั้งดาบส (คือพวกพราหมณ์) ทั้งพระภิกษุ ถือลัทธิมหายานก็ดี ถือสาวกยานก็ดี ให้ท่านทั้งหลายเอา “ตบะ” ของตน คือเดชะบุญกุศลที่สร้างเมื่อถือศีลสวดมนต์ภาวนา ไปถวายพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงพระเจริญแลห้ามอย่าให้มีคนหรือสัตว์ใดๆ มารบกวนบรรดาชีสงฆ์ ในอาวาสที่เขาอยู่

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 944 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1565 และในบรรทัดที่ 18 บอกมหาศักราช 947 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1568

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 20 ศิลาจารึกภาษาเขมรที่ศาลสูง (หลักที่ 1),” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 : จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย ([กรุงเทพฯ] : โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472), 25-27.
2) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกที่ 19 ศิลาจารึกภาษาเขมรที่ศาลสูง,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie : inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo ([กรุงเทพฯ] : กรมศิลปากร, 2504), 12-14.
3) ยอร์ช เซเดส์, “จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ 1),” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ, ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 159-163.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-19, ไฟล์; LB_010)