จารึกเรื่องฉันท์วรรณพฤติ แผ่นที่ 27 (ปิยังวทาฉันท์)

จารึก

จารึกเรื่องฉันท์วรรณพฤติ แผ่นที่ 27 (ปิยังวทาฉันท์)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2552 22:41:12 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 23:55:35 )

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องฉันท์วรรณพฤติ แผ่นที่ 27 (ปิยังวทาฉันท์)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 24 ซม. สูง 65 ซม.

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

เสาพระระเบียงพระอุโบสถชั้นใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

เสาพระระเบียงพระอุโบสถชั้นใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 436-437.

ประวัติ

ฉันท์วรรณพฤติ เป็นตำราแต่งฉันท์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงอาราธนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ทรงนิพนธ์ เมื่อ ปีขาล จุลศักราช 1204 (พ.ศ. 2385) พร้อมกับตำราฉันท์มาตราพฤติ เพื่อจารึกไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ คัมภีร์วุตโตทัยมีการแบ่งฉันท์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฉันท์ประเภทบังคับพยางค์ เรียกว่า “วรรณพฤติ” และฉันท์ประเภทบังคับมาตรา เรียกว่า “มาตราพฤติ” แต่ละประเภทมีการแบ่งย่อยเป็นหลายชนิด ตามลักษณะบังคับของคณะฉันท์ สำหรับฉันท์วรรณพฤติในคัมภีร์วุตโตทัยมี 81 ชนิด ตั้งแต่บาทละ 6 พยางค์จนถึงบาทละ 25 พยางค์ กวีได้มีการนำมาจัดวรรคและเพิ่มสัมผัสเป็นฉันท์ไทย

เนื้อหาโดยสังเขป

แสดงลักษณะบังคับของ “ปิยังวทาฉันท์” (ฉันท์ 12) กล่าวคือ บทหนึ่งมี 2 บาท บาทละ 12 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 8 พยางค์ วรรคหลัง 4 พยางค์ ประกอบด้วยคณะฉันท์ นะ ภะ ชะ ระ มีการส่งสัมผัสแบบกาพย์ สำหรับตัวอย่างฉันท์มีเนื้อหาว่าด้วยการ “การเว้นสัมผัปลาวาทมีองค์ 2”

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการติดจารึกฉันท์วรรณพฤติจำนวน 50 แผ่นบนเสาพระระเบียง ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2552) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2557), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ชุมนุมตำรากลอนฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2533), ก-ข.
2) "จดหมายเหตุเรื่อง การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส," ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
3) "ตำราฉันท์วรรณพฤติ," ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 385-474.
4) วัฒนะ บุญจับ, ครรภครรลองร้อยกรองไทย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2544), 274-317.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550