จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 20 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1559, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีแดง, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในวังสวนผักกาด กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-สร้างศิลาจารึก, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, บุคคล-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, บุคคล-มรตาญโขลญศรีวีรวรมัน,

จารึกวังสวนผักกาด

จารึก

จารึกวังสวนผักกาด

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2566 20:15:59 )

ชื่อจารึก

จารึกวังสวนผักกาด

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกอักษรและภาษาขอม, กท. 53, K. 232

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1559

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 27 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 44 ซม. สูง 87 ซม. หนา 12 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กท. 53”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2516) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกอักษรและภาษาขอม”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกวังสวนผักกาด”

ปีที่พบจารึก

พ.ศ. 2510-2515

สถานที่พบ

วังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลทุ่งพญาไท อำเภอพญาไท) กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลทุ่งพญาไท อำเภอพญาไท) กรุงเทพมหานคร (สำรวจข้อมูล 1 มีนาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2516) : 82-85.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 154-158.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้อยู่ในวังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยา ตำบลทุ่งพญาไท อำเภอพญาไท กรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี) เป็นศิลาจารึกที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น แต่สืบไม่ได้ว่ามาจากที่ไหน และมาอยู่ที่วังสวนผักกาดนี้ตั้งแต่เมื่อไร เจ้าหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติ ได้จัดทำสำเนา ถ่ายภาพและอ่าน-แปล ได้นำพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 6 มีนาคม 2516 ให้ชื่อเรื่องว่า “คำอ่านศิลาจารึก อักษรและภาษาขอม” ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ตั้งชื่อศิลาจารึกตามนามสถานที่ที่พบหลักจารึก ใช้ชื่อว่า ศิลาจารึกวังสวนผักกาด ศิลาจารึกหลักนี้มีสภาพชำรุด เนื้อศิลาส่วนล่างหักหายไป ทำให้การอ่าน-แปล ได้เนื้อความไม่จบเรื่อง

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าในมหาศักราช 938 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงมีพระราชบัญชาแก่มรตาญโขลญศรีวีรวรมันให้มาจารึกพระกระแสรับสั่งไว้ที่เสาหิน ณ ภูเขาดิน จากนั้นข้อความในจารึกก็เป็นรายการสิ่งของ และรายชื่อทาสที่จะทำการกัลปนา

ผู้สร้าง

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 มีพระบัญชาให้มรตาญโขลญศรีวีรวรมันเป็นผู้จารึกพระกระแสรับสั่ง

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 938 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1559

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง และทองสืบ ศุภะมาร์ค, “คำอ่านศิลาจารึกอักษรและภาษาขอม ได้มาจากวังสวนผักกาด ถ. ศรีอยุธยา ต. ทุ่งพญาไท อ. พญาไท จ. กรุงเทพมหานคร,” ศิลปากร 16, 6 (มีนาคม 2516) : 82-85.
2) ประสาร บุญประคอง และทองสืบ ศุภะมาร์ค, “จารึกวังสวนผักกาด,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 154-158.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565