จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวังสวนผักกาด

จารึก

จารึกวังสวนผักกาด ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 21:27:03

ชื่อจารึก

จารึกวังสวนผักกาด

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกอักษรและภาษาขอม, กท. 53, K. 232

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1559

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 27 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

ทองสืบ ศุภะมาร์ค (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ทองสืบ ศุภะมาร์ค : ศักราช 938 เป็นมหาศักราช บวกด้วย 621 เป็นพุทธศักราช 1559
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน คำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ในจารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงขออนุญาตแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
3. ทองสืบ ศุภะมาร์ค : “พระบาทกำมรเตงกำตวนอัญ ศรีสูรยวรมเทวะ” คือพระเจ้าศรีสุริยวรมันที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า พระปทุมสุริยวงศ์ (พ.ศ. 1559-1592) อนึ่งคำว่า “กำมรเตง” ในภาษาเขมรโบราณ หมายถึง เจ้าหรือพระผู้ใหญ่ ส่วนคำว่า “กำตวน” ในภาษามลายูโบราณ หมายถึง เจ้านาย เหมือนกัน และคำว่า “อัญ” แปลว่า “กู” ฉะนั้น คำว่า “กำมรเตงอัญ” ก็ดี “กำตวนอัญ” ก็ดี “กำมรเตงกำตวนอัญก็ดี” จึงหมายถึงเจ้านาย เจ้าของกู เจ้ากู หรือตวนกู ตามภาษามลายู
4. ทองสืบ ศุภะมาร์ค : ในพจนานุกรมเขมร หน้า 21 นิยามคำว่า “กันโลง” ว่า แม่ที่เป็นใหญ่ ที่เป็นแม่โขลง เป็นโจกกว่าเพื่อนๆ เช่น พระกันโลง (พระมารดา) เสากันโลง (เสาตั้ง) ในที่นี้แปลว่า “เจ้าแม่”
5. ทองสืบ ศุภะมาร์ค : ในพจนานุกรมเขมร หน้า 242 นิยามคำว่า “ชคตฺ” ว่า สัตว์โลก ประชาชนฯ และ อธิบายต่อไปว่า คำนี้พบที่ใช้บ่อยๆ ในศิลาจารึกสมัยมหานคร (นครธม-นครวัด) ฉะนั้นคำว่า “กำมรเตงชคต” จึงน่าจะหมายถึง “เจ้าเมือง” คือ หัวหน้าประชาชนในถิ่นนั้นๆ
6. ทองสืบ ศุภะมาร์ค : คำว่า “โฆ” เป็นคำนำหน้าชื่อทาสชาย
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ฉะเก”
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ถะเง”
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “หฤทยวีนทุ”
10. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เถียก”
11. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “ไต” เป็นคำนำหน้าชื่อทาสหญิง
12. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เขมา” (ขะ-เมา)
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ถมาส”
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “กันเหียง”
15. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “สรัจ”
16. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ถโกน”
17. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เถกต” (ถะ-เกต)