จารึกปราสาทหินพนมวัน 1

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 20:44:21 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Linteau inscrit de Nom Van (K. 1065), K.1065, นม.32

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1433

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

ส่วนของทับหลังกรอบประตูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 109 ซม. สูง 25 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 32”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพนมวัน 1”
3) ในหนังสือ Nouvelles inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น “Linteau inscrit de Nom Van (K. 1065)”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2513

สถานที่พบ

บริเวณซากปรักหักพังด้านทิศใต้นอกปราสาทหินพนมวัน บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

นายแทน ธีระพิจิตร หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (สำรวจ 20 มกราคม 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) เฉลิมพระเกียรติและรวมพระราชนิพนธ์ (พ.ศ. 2510-2520) (กรุงเทพฯ : ธนาคารกรุงเทพฯ, 2521).
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 144-147.
3) Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 86-88.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ พบพร้อมกับจารึก นม. 6 เมื่อกรมศิลปากรบูรณะขุดแต่งโบราณสถานปราสาทหินพนมวัน เมื่อปีพุทธศักราช 2513 นายแทน ธีระพิจิตร หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 6 ได้พบจารึกนี้กับจารึก นม. 7 รวม 2 หลัก อยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังรวมกับศิลาอื่นๆ บริเวณด้านทิศใต้นอกปราสาท ลักษณะของศิลาจารึก นม. 32 นี้ เป็นส่วนบนของกรอบประตู เมื่อแรกพบได้เคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ต่อมาได้ย้ายกลับไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา ครั้งเมื่อคณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ ได้เดินทางไปสำรวจและถ่ายภาพจารึกที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 สำรวจไม่พบจารึกหลักนี้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ภายหลังจึงได้ทราบจาก นางชูศรี เปรมสระน้อย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ซึ่งเคยเป็นผู้ดูแลรักษาคลังโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ว่า ปัจจุบันจารึกหลักนี้ได้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ข้อมูลจารึกหลักนี้ เมื่อพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือเฉลิมพระเกียรติและรวมพระราชนิพนธ์ (พ.ศ. 2510-2520) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ใช้ชื่อว่า จารึกปราสาทหินพนมวัน

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นพระราชโองการของพระเจ้ายโศวรมัน ที่สั่งให้บรรดาเจ้าหน้าที่ร่วมกันจัดงานฉลองปะรำพระเพลิงและพระตำหนัก ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชโองการนั้นจะต้องได้รับผลกรรม ส่วนผู้ใดที่ปฎิบัติตามพระราชโองการนั้นก็จะได้รับความดีความชอบ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 812 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1433

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Saveros Pou, “Linteau inscrit de Nom Van (K. 1065),” in Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 86-88.
2) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ, เฉลิมพระเกียรติและรวมพระราชนิพนธ์ (พ.ศ. 2510-2520) (กรุงเทพฯ : ธนาคารกรุงเทพฯ, 2521).
3) อำไพ คำโท, “จารึกปราสาทหินพนมวัน 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 144-147.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547