จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพนมวัน 1

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 21:17:32

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมวัน 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Linteau inscrit de Nom Van (K. 1065), K.1065, นม.32

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1433

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

ผู้อ่าน

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ต” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “ด” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว พบว่าอักษรที่ถูกอ่านเป็น “ต” และ “ด” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “ด” ให้อ่านเป็น “ต” ทั้งหมด
2. อำไพ คำโท : “วฺระอาชฺญา” หมายถึง พระราชโองการหรือพระราชดำรัส แต่ในสมัยหลังต่อมาเขมรโบราณนิยมใช้ “วฺระศาสน” แทน
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “เชง” คือ “เชิง” หมายถึง เท้า
4. อำไพ คำโท : “โกฺลญ” คือคำ “โขฺลญ” ที่เรารู้จักกันนี้เอง ในสมัยก่อนเขมรโบราณนิยมใช้ “โกฺลญ” แต่ในสมัยหลังต่อมาหันมาใช้ “โขฺลญ” แทน
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : อ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านจารึกหลักนี้ ที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 หน้า 146 อ่านคำนี้ว่า “โกฺลญฺวิษ” แต่เมื่อพิจารณาจากสำเนาจารึกแล้วพบว่าใต้ตัวอักษร “ษ” นั้น มีตัว “ย” ตัวเต็มตัวเล็กๆ ห้อยอยู่ อาจจะเป็นเพราะเขียนตกไป จึงมาเติมไว้ข้างล่าง ดังนั้นคำๆ นี้น่าจะอ่านเป็น “โกฺลญฺวิษย” ที่หมายถึง “โขลญวิษัย” หรือโขลญที่ทำหน้าที่ดูแลสถานที่
7. อำไพ คำโท : “เบก” (หรือ เปก-คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547)) คำนี้จะอ่านออกเสียงเป็น “แบก” ก็ได้ หรือจะอ่านออกเสียงเป็น “เบิก” ก็ได้ แต่ถ้าอ่านออกเสียงเป็น “แบก” ต้องแปลว่า แตก แยกออก ถ้าอ่านออกเสียงเป็น “เบิก” ต้องแปลว่า เปิด ขับ