จารึกห้วยมะอึ

จารึก

จารึกห้วยมะอึ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2551 11:05:25 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:51:41 )

ชื่อจารึก

จารึกห้วยมะอึ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stèle de Phu Khiao Kao ou Nong Hĭn Tăng (K. 512), ชย. 2, K.512ฃ

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นศิลา ชำรุด

ขนาดวัตถุ

-

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชย. 2”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VII กำหนดเป็น “Stèle de Phu Khiao Kao ou Nong Hĭn Tăng (K. 512)”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกห้วยมะอึ”

ปีที่พบจารึก

ประมาณ พ.ศ. 2465

สถานที่พบ

ห้วยมะอึ ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอผักปัง) จังหวัดชัยภูมิ

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หนองหินตั้ง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 71-75.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 267-269.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 301-303.

ประวัติ

ในรายงานของ Erik Seidenfaden ใน BEFEO XII, 1922 (พ.ศ. 2465) กล่าวว่าได้ทราบมาว่าในเขตอำเภอผักปัง (อีกชื่อคือภูเขียว) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเกษตรสมบูรณ์ บริเวณห้วยมะอึ แถวๆ กอไผ่ มีหินตั้ง กระจัดกระจายอยู่ 13 หลัก แผนกโบราณคดีในขณะนั้น เรียกบริเวณนี้ว่า “หนองหินตั้ง” ซึ่งมีอยู่ 2 หลัก ที่มีจารึกปรากฏอยู่ ต่อมา ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้ตีพิมพ์ข้อมูลดังกล่าวในหนังสือชุด Inscriptions du Cambodge vol. VII (พ.ศ. 2507) และกำหนดชื่อจารึกทั้ง 2 หลักนี้ เป็น จารึกภูเขียวเขา หรือ หนองหินตั้ง โดยแยกเป็น K. 404 (จารึกภูเขียวเขา) และ K. 512 (จารึกหนองหินตั้ง) ต่อมา จารึก K. 404 ได้ถูกย้ายไปเก็บไว้ที่ศาลากลางเมืองชัยภูมิโดยพระยาราชเสนา แต่ จารึก K. 512 ยังคงอยู่ ณ ที่เดิม คือ ที่หนองหินตั้ง ในครั้งนั้น ศ.ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงจารึกหนองหินตั้ง K. 512 ว่าอักษรโดยมากลบเลือน แต่เห็นชัดเจนอยู่หนึ่งคำคือ คำว่า “โลก” ต่อมา หอสมุดแห่งชาติได้ตีพิมพ์ คำอ่านและคำแปลของจารึกหนองหินตั้ง ลงในหนังสือชุด จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (พ.ศ. 2529) โดยมี อ. ชะเอม แก้วคล้าย เป็นผู้อ่านและแปล แต่ในการพิมพ์ครั้งนี้ เปลี่ยนชื่อจารึกตามแหล่งที่พบ จาก “จารึกหนองหินตั้ง” เป็น “จารึกห้วยมะอึ” (ชย. 2)

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื่องจากจารึกลบเลือนไปเกือบหมด จึงทำให้อ่านไม่ได้ใจความนัก เท่าที่อ่านได้มีปรากฏคำว่า โภคะ โลก และ ความหลุดพ้น น่าจะเป็นจารึกที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางศาสนา

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จากรูปแบบของตัวอักษรแบบหลังปัลลวะ กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย: ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, 2547, ศมส., จาก :
1) E. Seidenfaden, “Complément à l’inventaire descriptif des Monuments du Cambodge pour les quartre provinces du Siam Oriental,” Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient XII (1922) : 89-90.
2) G. Cœdès, “Inscriptions de la province de Ch’aiyaph’um (Siam) (K. 403, 404, 512, 965, 977),” in Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 71-75.
3) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกห้วยมะอึ,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 267-269.
4) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกภูเขียว,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 57-59.
5) ชะเอม แก้วคล้าย, “ศิลาจารึกภูเขียว อ่านและแปลความใหม่,” ศิลปากร 13, 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2532) : 65-66.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)