จารึกวิภูติ

จารึก

จารึกวิภูติ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 19:45:27 )

ชื่อจารึก

จารึกวิภูติ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 38, 99/281/2550

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 15

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 11 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 8 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินดินดาน

ลักษณะวัตถุ

หลักจารึกชำรุด แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

ขนาดวัตถุ

กว้าง 20 ซม. สูง 40 ซม. หนา 8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 38”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกวิภูติ”
3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/281/2550"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดตะพานหิน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 98-101.

ประวัติ

เจ้าหน้าที่ผู้รวบรวมจารึกในประเทศไทย ได้พยายามตรวจสอบหลักฐานแล้วยังไม่พบประวัติ ของจารึกหลักนี้ แต่สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาในจารึกไม่ประติดประต่อกัน จากเนื้อความเท่าที่พบคาดว่าเนื้อหาตอนต้นๆ ของด้านที่ 1 น่าจะเป็นการกล่าวสรรเสริญบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ได้บำเพ็ญบุญด้วยการบริจาคทาน ส่วนในจารึกด้านที่สอง ระบุชื่อทาสที่บริจาคคือ ไตเกส และของที่บริจาคคือ กระบือ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 โดยสังเกตจากลักษณะรูปสัณฐานของเส้นอักษรเหมือนกับจารึกศรีจานาศะ ซึ่งพบที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนั้นจึงประมาณอายุของรูปอักษรในจารึกหลักนี้ได้ว่าน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับจารึกศรีจานาศะจึงกำหนดให้อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์, “จารึกวิภูติ,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 98-101.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)