โพสต์เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2551 10:48:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 15:08:28 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องอสุภ 10 แผ่นที่ 4 (วิจฉิททกะ) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 123. |
ประวัติ |
จารึกเรื่องอสุภ 10 อยู่บนผนังวิหารทิศตะวันออก วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งแต่เดิมมีจิตรกรรมฝาผนังที่เนื้อหาสอดคล้องกับจารึก แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือภาพดังกล่าวแล้ว เช่นเดียวกับจารึกภายในวิหารซึ่งสูญหายไปเกือบทั้งหมด สำหรับจารึกเรื่องอสุภ 10 นั้นเหลือแผ่นที่ 5 เพียงแผ่นเดียวจากจำนวน 10 แผ่น ส่วนคำอ่านจารึกอีก 9 แผ่น ทางวัดพระเชตุพนได้คัดข้อความจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาลงไว้ให้สมบูรณ์ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
อธิบายความหมายของวิฉิททกะซึ่งหมายถึงซากศพที่อวัยวะขาดเป็น 2 ท่อน |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ว่า มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง อสุภ 10 ญาณ 10 ที่วิหารทิศตะวันออกโดยมีการสร้างจารึกบอกเรื่องประกอบไว้ทุกแห่ง ทั้งยังระบุว่า ผู้แต่งจารึกดังกล่าวคือ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก : |