โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2567 18:34:22 )
ชื่อจารึก |
จารึกบ้านหนองห้าง |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Stèle de Bua Khao (K. 511), กส. 6 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 15 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
ด้าน 1 จำนวน 2 บรรทัด (บรรทัดที่ 2 สันนิษฐานว่าถูดเขียนเพิ่มภายหลัง) |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 80 ซม. สูง 210 ซม. หนา 28 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กส. 6” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
บ้านหนองห้าง ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 24 มีนาคม 2559) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d’Extrême-Orient, 1964), 83. |
ประวัติ |
จารึกนี้เมื่อแรกพบตั้งอยู่ริมห้วย หลักทอดไปทางทิศตะวันออก บริเวณบ้านหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีหลักฐานคู่กับสำเนาจารึกว่า แผ่นศิลานี้อยู่ที่กลางป่าเป็นโนนรูปวัดเก่า ท้องที่ตำบลบัวขาว ห่างจากที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ประมาณ 80 เส้น ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2518 คณะสำรวจเอกสารโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ได้พบจารึกนี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่น บันทึกไว้ว่าได้จารึกนี้มาจากบ้านหินแป้น จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อพิจารณาสำเนาจารึกซึ่งมีหลักฐานว่าได้พบ ณ สถานที่ต่างๆ กันถึง 3 แห่งนี้แล้วจะเห็นได้ว่า รูปลักษณะของหลักจารึกก็ดี รูปอักษรและข้อความในจารึกก็ดี เหมือนกันทุกประการ ฉะนั้นจึงน่าจะเป็นจารึกหลักเดียวกัน เนื่องจากก่อนการรวบรวมจารึกเพื่อจัดพิมพ์ตามโครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทยครั้งนี้ จารึกบ้านหนองห้าง กส. 6 มีชื่อและเลขทะเบียนอีก 2 ชื่อ ตามสถานที่ซึ่งถูกเคลื่อนย้ายไปนั้น คือจารึกวัดเก่า และจารึกบ้านหินแป้น ซึ่งทำให้หลักฐานของจารึกคลาดเคลื่อนไปมาก ในการจัดพิมพ์คราวนี้จึงปรับปรุงหลักฐานให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ใช้ชื่อว่าจารึกบ้านหนองห้าง กส. 6 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงพระนามพระศรีพัชรวรมัน |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
เมื่อพิจารณาจากรูปอักษร “พ” “ช” และ “ย” พบว่ามีรูปแบบเหมือนกับศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นจารึกอักษรหลังปัลลวะ อายุพุทธศตวรรษที่ 14 ดังนั้น ศิลาจารึกนี้จึงควรจัดให้เป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุพุทธศตวรรษที่ 14-15 เช่นกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-01, ไฟล์; KL_001) |