จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 13 (ภาพแขกปะถ่าน)

จารึก

จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 13 (ภาพแขกปะถ่าน)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2551 14:19:21 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 11:14:16 )

ชื่อจารึก

จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 13 (ภาพแขกปะถ่าน)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

หิน

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 711.

ประวัติ

จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน 32 แผ่น บริเวณผนังเฉลียงศาลารายทั้ง 16 หลังของวัดพระเชตุพนฯ จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยโคลง 2 บทซึ่งอธิบายถึงลักษณะของชนชาติต่าง ๆ เช่น ผิวพรรณ, การแต่งกาย, ความเชื่อ และถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวนแผ่นละ 1 ชาติ รวมเป็นโคลง 64 บท 32 ชนชาติ โดยมีการหล่อประติมากรรมรูปชาวต่างชาติที่สอดคล้องกันกับจารึกตั้งไว้ในศาลารายดังกล่าว ศาลาละ 2 รูป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งจารึกและประติมากรรมได้สูญหายไปเกือบทั้งหมด ในส่วนของจารึกเหลือเพียง 2 แผ่น คือ แผ่นที่ 29 (ภาพญวน) และ แผ่นที่ 30 (ภาพจีน) อนึ่ง นอกเหนือจากประติมากรรมรูปชาวต่างชาติในศาลาราย ยังปรากฏภาพเขียนบนบานประตูและบานหน้าต่างของวิหารทิศเป็นภาพชนชาติต่าง ๆ อีกด้วย แต่ส่วนใหญ่ได้ลบเลือนไปแล้วเช่นกัน

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงชนชาติ “แขกปะถ่าน” (แขกปาทาน) ว่ามีอาชีพแต่งอูฐรับจ้าง นิยมไว้หนวดเครา สวมกางเกงผ้าแพรและเสื้อสีขาว โพกผ้าที่ศีรษะ นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ เป็นต้น จารึกแผ่นนี้ระบุว่าผู้แต่งคือ หลวงชาญภูเบศร์

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาล ที่3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ดังความว่า “…ที่สุดเฉลียง 2 ข้าง หล่อเป็นรูปคนต่างชาติตั้งไว้ศาลาละ 2 รูปมีศิลาจารึกโคลงดั้นบาทกุญชรบอกลักษณเพสชาติติดไว้ข้างผนังอย่างฤษีดัดตนฉะนั้น…”

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) กาญจนาคพันธุ์, ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์, เล่ม 2 (พระนคร : สาส์นสวรรค์, 2512), 2-16.
2) “โคลงภาพคนต่างภาษา,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 707-717.
3) “จดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
4) ทวีศักดิ์ เผือกสม, คนแปลกหน้านานาชาติของกรุงสยาม ใน “โคลงต่างภาษา” ที่วัดโพธิ์ (University in stone) งานเขียนเชิงชาติพันธุ์วรรณา (ethnography) ชิ้นแรกของสยาม (กรุงเทพฯ : มติชน, 2546), 120-126.