จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกโนนสัง

จารึก

จารึกโนนสัง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:56:31 )

ชื่อจารึก

จารึกโนนสัง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกโนนสัง พุทธศตวรรษที่ 16-17 อักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต, Bửmg Kè (K. 495), K.495

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศักราช 1432

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 16 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา สภาพปัจจุบัน หลักจารึกถูกฝังในดิน เหลือเพียงบางส่วนที่โผล่ขึ้นจากพื้นดิน ประมาณ 25.5 ซม. ด้านที่เป็นจารึกหันไปทางทิศตะวันตก (สำรวจเมื่อ 2 กันยายน 2563)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 64 ซม. สูง 46 ซม. หนา 36 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ยส. 3”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “Bửmg Kè (K. 495)”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 27 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2526) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกโนนสัง พุทธศตวรรษที่ 16-17 อักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกโนนสัง” 

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2456

สถานที่พบ

บ้านบึงแก ตำบลบึงแก อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

อาคารถาวร เจ้าปู่โนนสังข์ หมู่.2 บ้านบึงแก ตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร (สำรวจเมื่อ 2 กันยายน 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 27 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2526) : 70-75.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 30-35.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้เป็นหินชนิดละเอียด (ลับมีด) เป็นรูปยาวรีแหลม หนา 39 เซนต์ กว้าง (ข้างบน) 66 ซม. ยาว 3 เมตร ฝังอยู่ที่โนนสัง ทิศตะวันตกบ้านบึงแก ห่างบ้านประมาณ 20 เส้น อยู่ข้างขวาของทางหลวงสายอุบลฯ ไปอำเภอฟ้าหยาด อยู่ห่างทาง 3 วา ทางผ่านกลางโนน ปักหันหน้าหนังสือไปทางทิศตะวันตก ฝังอยู่พ้นดิน 1 คืบ บนโนนเป็นดินทรายกรวด โนนสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 3 วา โนนกลมวัดศูนย์กลางประมาณ 2 เส้น นอกจากเสาหินนี้แล้วไม่พบโบราณวัตถุอย่างอื่น

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงพระเจ้าโสมาทิตยะ ว่าเป็นผู้เกิดแต่พระเจ้าอินทรวรมัน ในมหาศักราช 811 พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแด่พระราชบิดา โดยการประทานสิ่งต่างๆ ได้แก่รัตนะ และป่าไม้แก่จอมมุนี

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 6 บอกมหาศักราช 811 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1432 อันเป็นสมัยของพระเจ้ายโศวรมัน (พ.ศ. 1431-1453)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกโนนสัง,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 30-35.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “ศิลาจารึกโนนสัง พุทธศตวรรษที่ 16-17 อักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต,” ศิลปากร 27, 5 (พฤศจิกายน 2526) : 70-75.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-01, ไฟล์; YS_001)