จารึกเนินสระบัว

จารึก

จารึกเนินสระบัว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 13:47:08 )

ชื่อจารึก

จารึกเนินสระบัว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 56 ศิลาจารึกเนินสระบัว, ปจ.14, จารึกหลักที่ 56, K.997, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 74/2555

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศักราช 1304

ภาษา

บาลี, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 27 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

ใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 40 ซม. สูง 177 ซม. หนา 28 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 14”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 56 ศิลาจารึกเนินสระบัว”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกเนินสระบัว”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2496

สถานที่พบ

เนินสระบัว ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอศรีมหาโพธิ) จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้พบ

นายชิน อยู่ดี

ปัจจุบันอยู่ที่

ข้อมูลเดิมระบุว่าอยู่ที่ วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จากการสำรวจพบว่าจารึกอยู่ที่ โบราณสถานสระมรกต อาคารศรีมโหสถ (24 กรกฎาคม 2554) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (บันทึกข้อมูลวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 109-114.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 179-186.

ประวัติ

จารึกหลักนี้พบที่เนินสระบัว ในบริเวณเมืองพระรถ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาได้ถูกเคลื่อนย้ายมาพิงไว้ที่โคนต้นโพธิ์ใหญ่ในวัดโพธิ์ศรีมหาโพธิ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่เดิมนัก ต่อมา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 นายชิน อยู่ดี หัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์พระนคร กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ออกสำรวจที่แหล่งโบราณคดีนี้ จึงได้พบจารึกหลักดังกล่าว และได้ทำสำเนาจารึกหลักนี้ไว้ ต่อมา ศ. ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่าน-แปลจารึกหลักนี้ แล้วนำไปตีพิมพ์ในหนังสือชุดประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ในปี พ.ศ. 2506 และ นาวาอากาศเอก แย้ม ประพัฒน์ทอง ได้อ่านและแปลใหม่อีกครั้ง แล้วนำไปตีพิมพ์ในหนังสือชุดจารึกในประเทศไทย เล่ม 1 ในปี พ.ศ. 2529

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย การทำบุญ และการประดิษฐานเทวรูป

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ประกอบกับมีเลขมหาศักราช 683 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 1304 จึงกำหนดอายุได้ว่าจารึกเนินสระบัวมีอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกเนินสระบัว,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 179-186.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 56 ศิลาจารึกเนินสระบัว,” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 : จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย ([กรุงเทพฯ] : โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472), 109-114.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 6-8 กันยายน 2555
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 12 กันยายน 2565