จารึกบนฐานประติมากรรม

จารึก

จารึกบนฐานประติมากรรม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 21:56:25 )

ชื่อจารึก

จารึกบนฐานประติมากรรม

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 11-13

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 2 ด้าน มี 2 บรรทัด ด้านละ 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

อาจเป็นฐานประติมากรรม มีลักษณะเป็นแผ่นหิน มีรูกลวงตรงกลาง

ขนาดวัตถุ

ทรงกลม ชำรุด เหลือเพียง 1 ใน 3 เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 26 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ จารึกที่เมืองศรีเทพ และหนังสือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กำหนดเป็น “จารึกบนฐานประติมากรรม”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2521

สถานที่พบ

ใกล้ประตูแสนงอน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 3 สุโขทัย

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกที่เมืองศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2534), 119-126.
2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550), 136.

ประวัติ

หน่วยศิลปากรที่ 3 สุโขทัย ได้ดำเนินการขุดค้นขุดแต่ง เมืองโบราณศรีเทพ เมื่อปี 2521 และได้ติดต่อขอจารึกจากชาวบ้าน ชื่อนายแวว ทองน้อย แห่งบ้านบึงนาจาน โดยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ต่อมาจึงได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาของจารึกหลักนี้เกี่ยวกับหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาเรื่องทุกข์ และปฏิจจสมุปบาท

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-13

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี (2547) ; นวพรรณ ภัทรมูล, แก้ไขเพิ่มเติม (2557), โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, “จารึกเมืองศรีเทพ,” ใน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550), 129-143.
2) อุไรศรี วระศริน และคนอื่นๆ, “จารึกบนฐานประติมากรรม,” ใน จารึกที่เมืองศรีเทพ (กรุงเทพฯ : โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2534), 119-126.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกที่เมืองศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2534)