จารึกคำอธิษฐาน

จารึก

จารึกคำอธิษฐาน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 13:26:41 )

ชื่อจารึก

จารึกคำอธิษฐาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 290 จารึกคำอธิษฐาน, พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน พุทธศตวรรษที่ 21-22, พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20-21

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 46 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 37 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 41 ซม. สูง 103 ซม. หนา 13 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 17”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 290 จารึกคำอธิษฐาน”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน พุทธศตวรรษที่ 21-22”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 47-52.
2) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 141-143.
3) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 378-384.

ประวัติ

นายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ เดินทางขึ้นไปทำการสำรวจกับเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี เพื่อจัดทำประวัติจารึก เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2520 เดิมศิลาจารึกหลักนี้ขึ้นอยู่ในบัญชีจารึกจังหวัดเชียงราย ลำดับเลขที่ ชร. 12 (ชร./พ. 1) ได้ตัดโอนตั้งเป็นบัญชีจารึกจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 เลขที่ พย. 17

เนื้อหาโดยสังเขป

แม้ข้อความจารึกคำอธิษฐานนี้จะขาดหายไปมาก แต่ก็นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สังคมไทยสมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับเทวปกรณ์ และบรรดาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งคนในสมัยก่อนมิอยากให้มาเบียดเบียน ดังจะเห็นได้ว่าด้านที่ 1 สตรีชั้นสูงผู้ประกอบบุญกุศลในพุทธศาสนา ได้อัญเชิญเทพในเทวปกรณัมของฮินดูมาเป็นสักขีพยาน และแสดงคำอธิษฐาน ขออุทิศส่วนกุศลแก่คนทั้งหลาย ขอให้ได้พบแต่ความสุขอายุยืนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นอกจากนั้น ตัวนางเองปรารถนาได้บรรลุอรหัตตผล แต่ก่อนวันได้บรรลุสิ่งนั้นก็ขอให้มีรูปและพรรณงามดั่งนางพิสาขา นอกจากนี้ก็ขออย่าได้มีโรคพยาธิต่างๆ มากล้ำกลาย ส่วนในด้านที่ 2 นางอธิษฐานขอให้ได้เกิดในสวรรค์และได้พบกับพระศรีอาริยเมตตรัย ซึ่งเป็นอนาคตพุทธเจ้า

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ในการประชุมกลุ่มสุโขทัยศึกษา-อยุธยาคดี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้แสดงความคิดเห็นว่า จารึกคำอธิษฐานนี้ ไม่น่าจะมีอายุเก่าไปกว่ากลางพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน พุทธศตวรรษที่ 21-22,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 141-143.
2) เทิม มีเต็ม, “พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 378-384.
3) เทิม มีเต็ม และประเสริฐ ณ นคร, “หลักที่ 297 จารึกคำอธิษฐาน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 47-52.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; PY_1701_p และ PY_1702_P)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566