จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกคำอธิษฐาน

จารึก

จารึกคำอธิษฐาน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 15:57:14

ชื่อจารึก

จารึกคำอธิษฐาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 290 จารึกคำอธิษฐาน, พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน พุทธศตวรรษที่ 21-22, พย. 17 จารึกคำอธิษฐาน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20-21

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 46 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 37 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 9 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2534), (พ.ศ. 2538)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2534), (พ.ศ. 2538)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2534)
2) คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534)
3) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : ที่ขาดหายไป 3 ตัวอักษรนี้ น่าจะเป็น “บาล” หรือ “โลก” ตัวใดตัวหนึ่ง “บาล” เป็นคำที่ดีกว่าในแง่ของการลงสัมผัสร่ายและความหมาย
2. เทิม มีเต็ม : “พระกาล” คือ พระศิวะ เขียนว่า “พระกานล” หรือ “พระกาลล” เพื่อให้ลงลักษณะร่าย
3. เทิม มีเต็ม : “บารเมสูร” เป็นรูปบาลีของศัพท์สันสกฤตว่า “ปารเมศวร” และเป็นคำคุณศัพท์ Sir. M. Monier-Williams, Sansakrit-English Dictionary (OXford, 1899) p. 620 ได้ให้ความหมายว่า “relatijng or belonging to or coming from the supream god (Siva)” (เกี่ยวกับหรือเป็นของหรือบังเกิดขึ้นจากศิวะ) ในที่นี้ใช้ขยายพระกาลอันเป็นเทพที่บังเกิดจากพระนลาฎของพระศิวะเมื่อตอนโกรธจัด
4. เทิม มีเต็ม : “ควง” คือ บริเวณ
5. เทิม มีเต็ม : “ห้าลานแผ่นดิน” คือ ห้าทวีปในจักรวาล กล่าวคือ ที่ตั้งเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางกับอุตตรกุรุ (เหนือ) บุพพวิเทห (ตะวันออก) ชมพูทวีป (ใต้) และอมรโคยาน (ตะวันตก)
6. เทิม มีเต็ม : “อนันตจักรวาล” คือ ปริมณฑลที่ไม่มีที่สิ้นสุด
7. เทิม มีเต็ม : “มลาก” คือ มาก, “อยู่มลาก” ควรแปลว่า อายุยืน หรือ อยู่ในความอุดมสมบูรณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
8. เทิม มีเต็ม : “เล็บ” อาจมีความหมายว่า ปวด เช่นมีสำนวนไทยว่า “หยิกเล็บเจ็บเนื้อ”
9. เทิม มีเต็ม : “เมลื่อย” คือ เมื่อย
10. เทิม มีเต็ม : “ห้าน” เป็นคำไทยโบราณ แปลว่า กระโผกกระเผก หรือ เป็นง่อยเปลี้ย
11. เทิม มีเต็ม : “อิด” คือ หมดเรี่ยวหมดแรง เช่นในคำปัจจุบันว่า อิดโรย
12. เทิม มีเต็ม : สำนวน “เป็นหิดเป็นฝี” ปรากฏซ้ำในบรรทัดที่ 16 ข้างล่างนี้
13. เทิม มีเต็ม : “โสด” คือ แล
14. เทิม มีเต็ม : “ตราบไปได้แก่” คือ ตราบถึงได้บรรลุ
15. เทิม มีเต็ม : “อรหัตตผล” คือ ผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์
16. เทิม มีเต็ม : “อาตม” คือ ตัวตน, กาย
17. เทิม มีเต็ม : “ผิวคำ” คือ ผิวเปล่งปลั่งดั่งทองคำ
18. เทิม มีเต็ม : “ขัดสา” เป็นภาษาไทยโบราณ แปลว่า ขัดจนเรียบงาม
19. เทิม มีเต็ม : “ในต้นว่า” คือ เป็นต้นว่า
20. เทิม มีเต็ม : “อันบ่ดีกล่าว” คือ เป็นอัปมงคลมิควรกล่าว